วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

มรดกโลกของไทย

มรดกโลกของไทย
ภาพเขียนบนผนังถ้ำ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องประดับของมนุษย์ในสมัย ก่อนที่จะถูกค้นพบศาสนสถาน และสภาพที่อยู่อาศัยภายในถ้ำ หรือเพิงผา หรือแม้กระทั่งซากพืชและเมล็ดพืช คือหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยในปัจจุบันเคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของมนุษยชาติอีกแหล่งหนึ่งมาตั้งแต่ ครั้งอดีตกาลนานนับหมื่นปี ตลอดระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าวบรรพบุรุษคนไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่และได้มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นหลายอาณาจักร ซึ่งมีรูปแบบของอารยธรรมที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา สุโขทัย หรืออยุธยา โบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง พระธาตุพนม เทวรูปพระวิษณุสกุลช่างสุโขทัย หรือเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ สิ่งเหล่านี้คือประจักษ์พยานแห่งความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของอารยธรรมไทย
ในขณะเดียวกันด้วยสภาพภูมิประเทศที่ประกอบด้วย เกาะ แก่ง โขดหิน เชิงผา ภูเขา ป่าไม้ ฯลฯ ประกอบกับที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ประเทศของเรามั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ป่าไม้เขตร้อนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง และป่าดึกดำบรรพ์ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่มีคุณค่าในความหลากหหลายทางชีวภาพและความงามตามธรรมชาติ สีเขียวมรกตของนำทะเลที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ แนวปะการังที่งดงามและอุดมสมบูรณ์ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่อุทยานเห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอันทรงคุณค่าของประเทศไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์รักษาและสืบทอดไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานชาวไทย
ในปีพุทธศักราช 2534 และ 2535 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ประกาศให้แหล่งมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยจำนวน 4 แหล่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก อันนำมาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและมีอายุไล่เลี่ยกันด้วย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นนครหลวงแห่งแรกของไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-20 เมื่อชนชาติไทยได้เริ่มตั้งรกรากวางรากฐานทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นแหล่งที่วัฒนธรรมเจริญงอกงามสูงสุดยุคหนึ่ง มีโบราณสถานทั้งสิ้นอย่างน้อน 25 แห่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าเขาและธรรมชาติ สุโขทัยนับเป็นอีกแห่งหนึ่งที่วัฒนธรรมของชนชาติได้วิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของโลก ยูเนสโกได้เคยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำแผนแม่บทสุโขทัย และให้ความช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์การเงิน และอื่นๆ ในขณะเดียวกันได้ทำการรณณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อการสงวนรักษาแหล่ง โบราณสถานสุโขทัย ทั้งยังจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-ยูเนสโก เพื่อติดตามผลการดำเนินการในโครงการนี้ การดำเนินการของยูเนสโกในโครงการอนุรักษ์โบราณสถานของสุโขทัยนี้ ทำให้ชื่อเสียงของสุโขทัยเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกและได้กลายเป็นแหล่งตัวอย่างข้อมูลการอนุรักษ์โบราณสถานในภูมิภาคนี้ของผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ในอดีตศรีสัชนาลัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเอกของสุโขทัย สถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่แสดงให้เห็นว่าประชากรมีการจัดระเบียบทางสังคมดี มีการสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง ทั้งในและนอกเขตกำแพงเมือง โดยมีไม่น้อยกว่า 100 วัด ทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม ปรากฏว่าชาวเมืองศรีสัชนาลัยมีความรู้ความสามารถในการขุดตักศิลาแลงธรรมชาติมาใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างศาสนสถาน และถาวรวัตถุอื่นๆ รวมทั้งเป็นวัตถุหลักในการสร้างประติมากรรม นอกจากนี้ลวดลายปูนปั้น ซึ่งประดับอยู่ตามโบราณสถานต่างๆ ยังมีความสวยงามประณีตแสดงถึงความก้าวหน้าทางศิลปกรรม อันเป็นแบบแผนของคนไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้ศรีสัชนาลัยยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคนี้อีกด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ไกลจากเมืองเก่าสุโขทัยเท่าใดนัก ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะแบบเดียวกับที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณสถานที่สวยงามและขนาดใหญ่มากมายหลายแห่ง ในอดีตเมืองกำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งที่ 2 ของไทยที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปี เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชนชาติไทย โบราณสถานต่างๆ ที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวัดมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ เพนียดคล้องช้าง ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรมซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุข และเป็นปึกแผ่นที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อำนาจทางการเมืองอันมั่นคงและซับซ้อน ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก อาทิ ปอร์ตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งเรืองและมั่นคั่งของอาณาจักรอยุธยาได้เป็นอย่างดี

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกการขุดค้นและการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีที่บ้านเชียงและบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะนำมาซึ่งหลักฐานแสดงการตั้งถิ่นฐานและอารยธรรมของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังทำให้เกิดพัฒนากระบวนการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีครั้งสำคัญ ที่สุดของไทยอีกด้วย การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง เมื่อปีพ.ศ. 2517-2518 ซึ่งเป็นโครงการร่วมที่ ดำเนินการโดยกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบหลักฐานจำนวน มาก ที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกในหลุมฝังศพ ภาชนะดินเผาลายเขียนสี เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่งประดับที่ทำด้วยสำริดและเหล็ก ผลการศึกษาค้นคว้าหลักฐานเหล่านี้ โดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆจากหลายประเทศ ตลอดจนการกำหนดอายุเครื่องปั้นดินเผา โดยวิธีการทางวิทยศาสตร์ ทำให้ทราบว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ มีวัฒนธรรมประเพณีและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและมีพัฒนาการทางสังคมที่สืบเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน เ มื่อ 5,600-1,800 ปีมาแล้ว เรื่องราวของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้มีการเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ทั่วโลก ทั้งที่เป็นเอกสารเผยแพร่และนิทรรศการเคลื่อนที่ไปแสดงที่ประเทสต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ เกาหลี มาเลเซีย ฯลฯ เป็นเหตุให้นักโบราณคดี และนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศ เดินทางมาเยี่ยมชมอยู่เสมอมา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
ทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งนับเป็นป่าอนุรักษ์ ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในบรรดาผืนป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผืนป่าธรรมชาติรวมไว้ ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนแมลงป่าอีกหลายชนิด ในด้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบว่ามีอยู่ถึงร้อยละ 33 ของสัตว์ที่พบว่ามีถิ่นกระจายอยู่ในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่ 45 ชนิด ถูกจัดสถานภาพว่ากำลังถูกคุกคามในระดับประเทศ 15 ชนิด ถูกคุกคามในระดับภูมิภาค และ 3 ชนิดที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะถิ่น ความต่อเนื่องของผืนป่าใหญ่ เป็นหลักประกันต่อการคงเผ่าพันธุ์ให้พืชและสัตว์ให้ดำรงไว้ได้ และเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการควบคุมความสมดุลทางธรรมชาติ ควบคุมภัยพิบัติ หรือทำให้ภัยธรรมชาติลดความรุนแรงลง นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของ ดิน น้ำ อากาศที่บริสุทธิ์ล้วนมาจากป่าธรรมชาติทั้งสิ้น






เหตุการณ์ในอดีต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะได้ทราบไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่น ๆ ทำให้ได้รู้ถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการของเรื่องนั้นๆ จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน และผลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การนำเสนอ จะไม่ใช้วิธีการเสนอตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นก่อน แต่จะเสนอตามวงรอบของปีโดยแบ่งออกเป็นรายวันในแต่ละเดือน จนครบวงรอบปี

มกราคม
1 มกราคม2423
วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"
1 มกราคม2435
หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก 2 เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย
1 มกราคม2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงประจำกอง (ธงชัยเฉลิมพล)แก่กรมทหารรักษาวัง พื้นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนบนแท่น มุมธงมีอักษรย่อ "วปร"
1 มกราคม2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระรามที่6 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้จังหวัดนนทบุรี เขตตำบลบางกรวย1 มกราคม2484
เป็นวันเริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม เพื่อให้เหมือนกับนานาอารยประเทศ จากเดิมใช้วันที่ 1 เมษายน ในปี พ.ศ. 2483 จึงมีแค่ 9 เดือน คือนับตั้งแต่1 เมษายน 2483 สิ้นปี 31 ธันวาคม 2483
1 มกราคม 2488
ไทยได้ยินยอมลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรและอินเดีย รวมทั้งบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย เพื่อเลิกสถานะสงคราม ความตกลงสมบูรณ์แบบมี 24 ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิม และสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษ และไทยต้องส่งข้าวจำนวน1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า
2 มกราคม2482
โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย กำเนิดขึ้นโดย มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์(Genevieve Colfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2532 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด3 มกราคม2521
ตั้ง ค่ายพระยอดเมืองขวาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 3 จังหวัดทหารบกอุดร(ส่วนแยก 2 นครพนม) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
4 มกราคม2309
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก(อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม5 มกราคม2316
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยยกทัพต่อสู้ โดยถือดาบ 2 เล่ม เข้าจ้วงพันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง 2 เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
6 มกราคม2532
กองทัพอากาศ ได้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์หนึ่ง ขนาดกว้าง 50 เมตรสูง 60 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชาจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุนภเมทนีดล และได้น้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาใน พ.ศ. 2530
7 มกราคม2408
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้58 พรรษา หลังจากทรงประชวรมา 5 ปี
7 มกราคม2456
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาโรงเรียนเพาะช่างขึ้นโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนามาจากกองช่างแกะไม้ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะและพัฒนามาเป็น โรงเรียนเพาะช่าง ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สนองพระกรุณาธิคุณ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์
7 มกราคม2484
เกิดกรณีพิพาทด้วยกำลังระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส รัฐบาลไทยได้ตั้ง จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้กำลังทหารปรับปรุงเขตแดนไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไทยชนะ ได้ดินแดน 4 จังหวัด คือเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์ กลับคืนมาเป็นของไทย โดยมีญี่ปุ่นอาสาเข้ามาไกล่เกลี่ย8 มกราคม2484
เครื่องบินไทยไปทิ้งระเบิดที่ พระตะบองและเสียมราฐ เป็นครั้งแรก
8 มกราคม2484
ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ
9 มกราคม2433
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อปี พ.ศ.2447 ค่าก่อสร้าง 500,000 บาท
9 มกราคม2472
วันก่อฤกษ์ สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ก่อสร้างโดยมีนาย อี ฟอร์โน เป็นสถาปนิก สร้างตามแบบของบริษัท ดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท
10 มกราคม2491
วันประสูติพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ย่อจากอักษรท้ายพระนาม "รัชนีแจ่มจรัส" ท่านเป็นกวีที่ช่วยให้วรรณคดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรุ่งโรจน์12 มกราคม2385
มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์12 มกราคม2476
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์13 มกราคม2379
หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ ระเปิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย13 มกราคม2452
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีวิทยุโทรเลข ของทางราชการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (ขณะนี้เป็นอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร)13 มกราคม2456
ร.6 เสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิด สถานีวิทยุโทรเลขของทางราชการแห่งแรกในไทย14 มกราคม2429
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฏราชกุมาร นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช15 มกราคม2471
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดการสื่อสาร ทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับยุโรปโดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลินเป็นครั้งแรก16 มกราคม2336
ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า
16 มกราคม2488
รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรกด้วยความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1 เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์
2 เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู
3 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก
17มกราคม 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา กม. ว่าด้วย ประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ นับเป็น กม. ฉบับแรกในเรื่องนี้
17 มกราคม2488
การรบทางเรือที่เกาะช้าง และในวันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเป็นวันสดุดีและบำเพ็ญกุศลแก่ผู้เสียชีวิตในการรบแห่งราชนาวี18 มกราคม2410
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส20 มกราคม2411
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทยเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน
22 มกราคม2400
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง22 มกราคม
กองทัพบกได้ตั้งกองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1 ขึ้น มีพลตรี ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการกองพล กำลังส่วนนี้ได้เดินทางไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัครที่ไปทำการรบ ในสาธารณรัฐเวียตนามเมื่อเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม251123 มกราคม2431
พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว23 มกราคม2495
ไทยได้จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก24 มกราคม2384
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน24 มกราคม2400
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่ บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่าพระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึงพระเจ้ากรุง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย25 มกราคม2135
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะจาก สมเด็จพระมหารอุปราชพร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ชัยชนะจากมางจาชโร ณ พื้นที่ระหว่าง ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี กับ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้วันดังกล่วาเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา
25 มกราคม2227
คณะฑูตไทยคณะที่ 2 ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)25 มกราคม2485
รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (บริเตนใหญ่)และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ
25 มกราคม2502
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะแก่พระมหา อุปราชา28 มกราคม2456
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถีที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยเหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้าด้านละ19.50 เมตร สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร
28 มกราคม2484
กรณีพิพาทอินโดยจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ยุติลงโดยญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ย มีการลงนามในข้อตกลงพักรบ29 มกราคม2382
หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย29 มกราคม2445
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จบการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เสด็จกลับคืนสู่พระนคร

กุมภาพันธ์
1 กุมภาพันธ์ 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.114 ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ.120 3 กุมภาพันธ์ 2462 วันที่ระลึกและวันสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นวันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามโลก ครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อสงครามสงบลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาแก่ผู้พลีชีวิต นับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา 3 กุมภาพันธ์ 2485 ได้มีการลงนามในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย กับแม่ทัพกองทัพที่ 15 ของญี่ปุ่น ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในไทย ร่วมกับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น 4 กุมภาพันธ์ 2462 รัชกาลที่ 5 เสด็จ ฯ ทรงเปิดเดินเครื่องจักรโรงกษาปณ์สิทธิการ 5 กุมภาพันธ์ 2404
เริ่มสร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชย ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนตก รวมความยาวทั้งสิ้น 8.575 กิโลเมตร ส่วนความกว้างไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย บางตอนกว้างถึง 12.75 เมตร บางตอนกว้างเพียง 7 เมตร เป็นถนนเทคอนกรีต และลาดยางตลอดสาย 5 กุมภาพันธ์ 2428 ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ รร. หลวงในสมัยนั้น 5 กุมภาพันธ์ 2496
วันสถาปนากองเรือตรวจอ่าว ซึ่งเป็นกองกำลังในสังกัดกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ 6 กุมภาพันธ์ 2485 ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับไทย โดยให้ถือว่ามีสถานะสงครามกับไทย ตั้งแต่ 23 ม.ค. 2485 และได้โทรเลขถึงข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศคานาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ แสดงความหวังว่าประเทศในเครือจักรภพจะดำเนินการอย่างเดียวกัน 7 กุมภาพันธ์ 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนนี้เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีช่องระบายน้ำ 20 ช่อง กว้างช่องละ 25.50 เมตร ใช้ส่งน้ำตามโครงการชลประะทานเจ้าพระยา ในเนื้อที่ประมาณ 5,550,000 ไร่ 7 กุมภาพันธ์ 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศรัสเซีย 9 กุมภาพันธ์ 2515 สมเด็จพระนางเจ้าอะลิซาเบธ แห่งอังกฤษ เสด็จเยือนประเทศไทย นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมายังเอเซียเป็นครั้งแรก 10 กุมภาพันธ์ 2497
ออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวันนี้กำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี 11 กุมภาพันธ์ 2460 &nbss; พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กองเสือน้ำ เป็น กรมราชนาวีเสือป่า สมาชิกของกรมราชนาวีเสือป่าได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มาสมัคร และมีนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน 11 กุมภาพันธ์ 2485 รัฐบาลแอฟริกาใต้ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยให้มีผล ตั้งแต่ 25 ม.ค. 2485 11 กุมภาพันธ์ 2491 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้นเป็นส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อกองทัพบกให้ทำหน้าที่ฝึกนักศึกษาวิชาทหารมาจนถึงทุกวันนี้ 12 กุมภาพันธ์ 2446 ไทยเสียดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพร เป็นพื้นที่ปีะมาณ 62,500 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย ซึ่งฝรั่งเศสได้ยึดตั้งแต่เหจุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) 13 กุมภาพันธ์ 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา 13 กุมภาพันธ์ 2446 ไทยไทยตกลงทำสัญญายก จังหวัดตราด เกาะต่าง ๆ ตลอดแนวไปจนถึง เกาะกง เกาะกูด ให้แก่ฝรั่งเศส 14 กุมภาพันธ์ 2369 เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎยกกองทัพจากเวียงจันทร์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมาไว้ได้ และได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นชะเลยจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งกองทัพออกไปปราบและจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ส่งตัวเข้ามากรุงเทพ ฯ เมื่อ 21 ธันวาคม 2370 16 กุมภาพันธ์ 2427 วันจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบาทหลวงกลอมเบต์ ชางฝรั่งเศส อธิการแห่งโบสถ์อัสสัมชัญ รับเฉพาะนักเรียนชายล้วน 16 กุมภาพันธ์ 2496 ประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตาปี 16 กุมภาพันธ์ 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จังหวัดลพบุรี 17 กุมภาพันธ์ 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระราชาธิบดี เยอรมัน มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง สมเด็จพระเจ้ากรุงปรุสเซีย และเรื่องการทำสัญญาทางพระราชไมตรีและทางค้าขาย 17 กุมภาพันธ์ 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 17 กุมภาพันธ์ 2462 เปิดการไปรษณีย์อากาศขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างกรุงเทพ-จันทบุรี 17 กุมภาพันธ์ 2488 ประกาศใช้เครื่องแบบทหารเรือฉบับแรก 18 กุมภาพันธ์ 2375 อเมริกันส่งทูตการค้าคนแรก คือ นายเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในสมัยประธานาธิบดี ยอร์ช วอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา 20 กุมภาพันธ์ 2500 เปิดถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปนครราชสีมา จากความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา 20 กุมภาพันธ์ 2512 มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นเกียรติ และระลึกถึงความกล้าหาญของท่าน ที่ได้ต่อสู้กับโปสุพลา แม่ทัพพม่า จนดาบหักคามือ 21 กุมภาพันธ์ 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง กรมพระราชวังบวร ฯ ตีที่สามสบ รบอยู่ 3 วัน ไทยได้รับชัยชนะ 21 กุมภาพันธ์ 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ 21กุมภาพันธ์ 2435 ไทยเริมเดินรถรางเป็นครั้งแรก ต่อมาได้กีดขวางการจราจร จึงได้เลิกเมื่อ พ.ศ. 2511 21 กุมภาพันธ์ 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทรศก) ซึ่งเริ่มใช้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้ใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) แทน 21 กุมภาพันธ์ 2482 กองทัพเรือ จัดตั้งกรมนาวิกโยธิน โดยรวมกองพันนาวิกโยธิ ที่มีอยู่แล้ว 2 กองพันเข้าด้วยกัน 23 กุมภาพันธ์ 2453
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระราชวังเดิม เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ จากนั้นเป็นต้นมา พระราชวังเดิมก็เป็นสถานที่ทำการของ ทหารเรือจนถึงปัจจุบัน (พระราชวังเดิมเป็นพระราชวังหลวง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ และวัดอรุณราชวราราม ขนาบอยู่สองข้าง ตรงกลางมีป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่) 23 กุมภาพันธ์ 2465
กองทัพเรือได้ออกข้อบังคับทหารเรือ กำหนดให้ใช้คำว่า ร.น. (ราชนาวี) ต่อท้ายนามของนายทหารสัญญาบัตร 24 กุมภาพันธ์ 2310 วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิม ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฎอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม 24 กุมภาพันธ์ 2409
กองทัพบกได้มีคำสั่งจัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษ ขึ้นที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นับเป็นการจัดหน่วยรบพิเศษที่สมบูรณ์แบบ 24 กุมภาพันธ์ 2513 บก.ทหารสูงสุดได้อนุมัติการจัดตั้ง หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง (นปข. ) เพื่อป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่รับผิดชอบตามลำน้ำโขง ตั้งแต่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไปถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง 850 กม. 24 กุมภาพันธ์ 2522 กองทัพอากาศยุบเลิกกรมการบินพลเรือน แล้วแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 25 กุมภาพันธ์ 2468 พระราชพิธีพระบรมราชรภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 26 กุมภาพันธ์ 2310 วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 27 กุมภาพันธ์ 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อัญเชิญพระแก้วมรกต จากพระราชวังเดิมธนบุรี มาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 27 กุมภาพันธ์ 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 28 กุมภาพันธ์ 2454 กระทรวงกลาโหมได้ส่งนายทหารสามนาย ออกเดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นชุดแรกที่ส่งออกไปศึกษา และได้สำเร็จการศึกษากลับมาถึงประเทศไทย เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2456 28 กุมภาพันธ์ 2510 คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหาร แก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม โดยให้กองทัพบกจัดส่งหน่วยกำลังรบทางพื้นดิน ไปปฏิบัติการรบ กองทัพบกจึงจัดตั้งหน่วยรบเฉพาะกิจขึ้นในรูป กรมทหารอาสาสมัคร (กรม อสส.) ส่งไปร่วมรบกับชาติพันธมิตร ในประเทศเวียดนาม กรม อสส. นี้ได้รับสมญานามว่า จงอางศึก 29 กุมภาพันธ์ 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน

มีนาคม
1 มีนาคม2230 ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็น ราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางกลับถึงประเทศไทย ฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร 636 คน ในบังคับนายพลเดฟาร์ช มาประจำที่ป้อมเมืองมะริด ตามคำร้องขอของฟอลคอน และมีหัวหน้าทูตเข้ามา 2 คน คือ เดอลาบูแบ และ คลอดเซเบแต้ดูบูลเย1 มีนาคม2433
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย2 มีนาคม2477
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เนื่องจากไม่ทรงเห็นชอบกับรัฐบาลคณะราษฎร 24 มิถุนายน2475 ในการออกกฎหมายบางเรื่อง2 มีนาคม2477 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์สืบแทน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงสละราชสมบัติ2 มีนาคม2485 ออสเตรเลียประกาศสถานะสงครามกับไทย ตามความต้องการของอังกฤษ4 มีนาคม1893 สถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าอู่ทองเป็นปฐมกษัตริย์4 มีนาคม2480 ไทยกับประเทศนอร์เว ทำสัญญาแลกเปลี่ยนไมตรีการพาณิชย์ ในรัชกาลที่86 มีนาคม2413 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ สิงคโปร์ ชวา โดยเรือพิทยัมรณยุทธ ออกจากกรุงเทพ ฯ วันนี้7 มีนาคม2477 รัฐบาลพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เห็นชอบอัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ นับตั้งแต่วันและเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ วันที่ 2 มีนาคม 2477 เวลา 13.45 น. ตามเวลาในประเทศอังกฤษเป็นต้นไป แต่เนื่องด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระชนมายุเพียง 9 พรรษาซึ่งได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุราชนิติภาวะ7 มีนาคม2510 ชักชวนให้พวกพ่อค้าในเรือนั้นกระทำร้ายพระเจ้าแผ่นดินสยาม (พระเจ้าปราสาททอง) และเนื่องด้วยเหตุนี้พระเจ้าปราสาททอง จึงส่งกองทัพเรือไปตีเมืองนครศรีธรรมราช9 มีนาคม2413 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสน์เมืองสิงคโปร์ ปัตตาเวีย และเกาะชวา โดยเรือพระที่นั่งพิทยัมรณยุทธ เพื่อทอดพระเนตรกิจการบ้านเมือง ตลอดจนขนมธรรมเนียม และประเพณีของต่างชาติ เป็นเวลา 47 วัน และเสด็จกลับเมื่อ15 เมษายน 24149 มีนาคม2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองแขวงเมืองปทุมธานี ไปออกแม่น้ำนครนายก หรือที่เรียกว่า คลองรังสิต และคลองนี้เอง ที่เป็นการเริ่มต้นกิจการด้านการชลประทานและเป็นผลดีแก่เกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียงเป็นอันมาก9 มีนาคม2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสธิราชสยามมกุฎราชกุมาร (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์ เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ นครราชสีมา10 มีนาคม2334 เมืองทะวายกลับมาอยู่ในอิทธิพลของไทย หลังจากตกไปเป็นของพม่า เมื่อปี พ.ศ. 230210 มีนาคม2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระบรมราชชนนีและกรมพระราชวังบวร ฯ ที่สวรรคตแล้ว (ร.1-3)10 มีนาคม2451 อังกฤษยอมตกลงปักปันเขตแผ่นดินไทย และรัฐกลันตันของมลายู ด้วยแม่น้ำสุไหงโกลก ที่ไหลมาออกอ่าวไทยที่บ้านตาบา (ใต้อำเภอตากใบ) จังหวัดนราธิวาสลงไปราว 5กิโลเมตร มีการลงนามในสัญญาแบ่งเขตแดนที่เรียกว่า สัญญาตาบา เพราะไทยใช้วัดชลธาราสิงเหตำบลเจ๊ะเห ริมฝั่งแม่น้ำตากใบ อ้างเป็นหลักฐานยืนยันว่า แผ่นดินตากใบรวมถึงตัวเมืองนราธิวาสและจังหวัดปัตตานี เป็นของไทยมาเก่าแก่ ต่อมาวัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดพิทักษ์แผ่นดินมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้10 มีนาคม2451 ไทยเสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส เป็นพื้นที่80,000 ตร.กม. ให้แก่ อังกฤษ เพื่อให้ได้อำนาจศาลไทยที่จะใช้บังคับคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย11มีนาคม 2484 ไทยกับฝรั่งเศสตกลงทำสัญญาเลิกรบกัน ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น11 มีนาคม2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประพาสประเทศปากีสถาน จนถึงวันที่ 22 มีนาคม 250512 มีนาคม2504 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมท์ปฎิทิน ทรงคำนวนขึ้นเป็นครั้งแรก12 มีนาคม2524 ตั้งค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตามหลักฐานแจ้งความกองทัพบก ลง 12 มีนาคม 2524 เป็นที่ตั้งของกองพลทหารราบที่ 5 อยู่ที่ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช13 มีนาคม2318 เป็นวันที่อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัว เจ้าพระยาจักรีที่พิษณุโลก ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้อายุ72 ปี เจ้าพระยาจักรีอายุ 38 ปี และพม่าล้อมที่พิษณุโลก 4 เดือน จึงจะเข้าตีพิษณุโลกได้15 มีนาคม2349 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชผู้รับรัชทายาท15 มีนาคม2400 กำเนิดหนังสือราชกิจจานุเบกษา โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พิมพ์ออกแจกจ่ายประชาชน พระราชทานนามว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ15 มีนาคม2401 ร.4 ขึ้นครองราชย์ และเป็นวันที่ราชกิจจานุเบกษา ฉบับปฐมฤกษ์ออก15 มีนาคม2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขึ้นเป็นกรมขุนพินิตประชานารถ16 มีนาคม2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พรราชทานเพลิงศพ สมเด็จรพะนางเจ้าสุนันทากุมานีรัตน์ พระบรมราชเทวี(พระนางเรือล่ม)16 มีนาคม2485 นิวซีแลนด์ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยให้มีผล ตั้งแต่ 25 ม.ค. 248518 มีนาคม2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอินเดีย เป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งบางกอก มีเรือรบตามเสด็จ 2 ลำ20 มีนาคม2279 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชสมภพ ณ ที่ปัจจุบันคือ วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา20 มีนาคม2375 ไทยกับสหรัฐ ตกลงทำสัญญาค้าขายกัน ในสมัยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจคสัน โดยมี มร. เอ็ดมัน โรเบอร์ดส์ เป็นทูตเข้ามาเซ็นสัญญา20 มีนาคม2519 รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประโมท ได้สั่งให้สหรัฐอเมริกา ปิดฐานทัพในประเทศไทย และถอนเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทั้งหมดออกไปภายในระยะเวลา4 เดือน นับเป็นการสิ้นสุดของทหารสหรัฐที่ประจำอยู่ในประเทศไทย22 มีนาคม2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร จากพระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี ข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยา นำไปประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำ ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม22 มีนาคม2449 ฝรั่งเศสเข้ายึดครองมณฑลบูรพาของไทย คือ เมืองเสียมราฐ พระตะบอง22 มีนาคม2456
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเป็นครั้งแรก23 มีนาคม2449 ไทยเสียดินแดนมณฑลบูรพา คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ พื้นที่ 51,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากตราดและแลกกับอำนาจทางการศาลของไทย24 มีนาคม2328 วันที่พม่าถอยทัพออกจากถลาง (เปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เมื่อ พ.ศ. 2510)24 มีนาคม2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศให้ยิงปืนเที่ยงบอกเวลา12.00 น สถานที่ตั้งยิงปืนเที่ยงอยู่ที่ท้องสนามหลวง24 มีนาคม2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทย และได้ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยาที่กองทัพเรือจัดถวาย เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์นิวัติพระนคร26 มีนาคม2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปิดการเดินรถไฟเป็นปฐมฤกษ์จากกรุงเทพ ฯ ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นส่วนหนึ่งของทางไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการรถไฟแห่งะประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 26 มีนาคม ของทุกมีเป็นวันกำเนิดกิจการรถไฟไทย26 มีนาคม2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย27 มีนาคม2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระพาสยุโรปครั้งที่ 2 ใช้เวลาเสด็จประพาสครั้งนี้รวม 7 เดือนเศษ เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน27 มีนาคม2457 กระทรวงกลาโหม ยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก กองทัพอากาศ จึงได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนากองทัพอากาศ27 มีนาคม2485 ประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณศาลาแดง กรุงเทพ ฯ27 มีนาคม2504 เปิดอนุสาวรีย์ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มณตรี (เจิม แสงชูโต) ที่ค่ายสุรศักดิ์มณตรี จังหวัดลำปาง28 มีนาคม2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้จุลศักราช (จ.ศ.) และให้ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน โดยถือเอาปีตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พ.ศ. 2325 เป็นปีที่ 1 (ร.ศ.1)28 มีนาคม2456 เริ่มวันหยุดราชการเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 629 มีนาคม2410 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง30 มีนาคม2415 ไทยเสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส แก่อังกฤษ31 มีนาคม2330 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

เมษายน
1 เมษายน 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร สำหรับกระทรวงกลาโหมนั้น ได้กำหนดหน้าที่เป็นกระทรวงราชการทหาร ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารบก และทหารเรือ ซึ่งก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ เหมือนกับกระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ปกครองฝ่ายเหนือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การบังคับบัญชาทหารแต่อย่างใด ในวันที่ 1 เมษายน 2535 ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดเฉลิมฉลองในโอกาศครบรอบ 100 ปี ของกระทรวงหลายส่วนราชการได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 เมษายน 2436 วันสถาปนา กรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นนักกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2465 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้โอนกรมนี้ไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2441 จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบก พระองค์เจ้าจิรประวัติดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการทหารบกพระองค์แรกในกองทัพไทย 1 เมษายน 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้น หลังจากนั้น นายเล็ก โทกวณิก ได้ขอตั้งโรงรับจำนำขึ้น ในนามฮั่วเสง อยู่ที่ถนนพาหุรัด โรงรับจำนำนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 1 เมษายน 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาส และตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ. 124 ห้ามมิให้คนเกิดในรัชกาลของพระองค์เป็นทาสอีก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 1 เมษายน 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น และในปี 2535 นับเป็นวาระครบรอบ 80 ปี ของกระทรวงคมนาคม 1 เมษายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงจัดตั้งกองอาสาสมัครน้ำขึ้นเพื่อเป็นกำลังทางน้ำของไทย ดำเนินการป้องกันประเทศ ร่วมกับกองกำลังทางบกของกองอาสาสมัครเสือป่า 1 เมษายน 2459 เลิกอากรหวย กข. อย่างเด็ดขาด ในรัชกาลที่ 6 1 เมษายน 2463 มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทยเป็น 7 ชั่วโมง ก่อนเวลาในเมืองกรีนิช แห่งประเทศอังกฤษ 2 เมษายน 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต 2 เมษายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สะพานปฐมราชานุสรณ์เป็นทางการ สะพานนี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก และเฉลิมฉลองในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 150 ปี 3 เมษายน 2325 วันที่สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากเขมร 3 เมษายน 2454 วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งครบรอบ 84 ปีใน พ.ศ. 2536 3 เมษายน 2473 ได้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาครั้งสุดท้าย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 3 เมษายน 2489 คณะผู้แทนไทยได้ลงนามในความตกลงเลิกสถานะสงคราม กับ ผู้แทนออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ โดยอนุโลมตามความตกลงที่ไทยทำไว้กับอังกฤษ 4 เมษายน 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลาผนวช 4 เมษายน 2443 กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอิสาน อยู่เมืองอุบลราชธานีได้นำกองทหารชาวกรุงเทพ ฯ และทหารชาวพื้นเมืองซึ่งได้รับการฝึกมาแล้ว กับได้รับความร่วมมือของกองทัพเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ สามารถจับพวกกบฎผีบุญผีบ้าที่เกิดขึ้นที่เมืองอุบลราชธานีได้ 4 เมษายน 2475 งานพระราชพิธีสมโภชกรุงเทพมหานคร ครบรอบ 150 ปี 4 เมษายน 2525 สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี 5 เมษายน 2525 วันที่พสกนิกรชาวไทย ถวายพระสมัญญารัชกาลที่ 1 ว่า "มหาราช" 6 เมษายน 2325 พระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต 6 เมษายน 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ตามคำกราบบังคมทูลอันเชิญของบรรดาราษฎร และข้าราชชั้นผู้ใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดให้มีพระราชพิธีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2461 และประกาศให้เป็นวันที่ระลึกมหาจักรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 6 เมษายน 2461 เริ่มมีพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ 6 เมษายน 2462 วันจักรี (เริ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6) 6 เมษายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ ประชาชนชาวไทยในวันนี้ แต่คณะรัฐมนตรีกับพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้านเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร 7 เมษายน 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ 7 เมษายน 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี มีเรือมกุฎราชกุมาร และเรือ ยงยศอโยชฌิยา เป็นเรือรบตามเสด็จเพียงเมืองสิงคโปร์ 8 เมษายน 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม 8 เมษายน 2430 ได้มีประกาศจัดการทหาร ในประเทศนี้ได้รวมบรรดากองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด มาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ทรงพระเยาว์อยู่นั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร 8 เมษายน 2495 ตั้งค่ายจิรประวัติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ 13 กองพันทหารช่างที่ 4 กรมทหารราบที่ 4 กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 9 เมษายน 2480 ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็น กองทัพอากาศขึ้นกับกระทรวงกลาโหม 11 เมษายน 2436 วันเกิแฝดสยาม อิน-จัน ในแผ่นดิน รัชกาลที่ 2 ที่แม่กลอง จันถึงแก่กรรมเดือน มกราคม 2417 แล้วอินก็ตายตามไป 11 เมษายน 2436 เปิดเดินรถไฟสายแรกของไทย ณ สถานีสมุทรปราการ ระยะทาง 21 กม. เลิกกิจการเมื่อ 1 มกราคม 2503 11 เมษายน 2527 ตั้งค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นที่ตั้งของกองพลทหารราบที่ 6 กองพันทหารช่างที่ 6 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 กองพันทหารม้าที่ 21 กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 อยู่ที่กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 12 เมษายน 1839 เป็นวันตั้งเมืองเชียงใหม่ ตามปรากฎในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 12 เมษายน 2399 ตั้งกระทรวงการต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแยกจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 16 เมษายน 2522 ตั้งค่ายกฤษณ์สีวะรา ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 3 กองพันที่ 1,2,3, และ 4 กรมทหารราบที่ 3 จังหวัดทหารบกสกลนคร อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 17 เมษายน 2277
วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เปิดอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ 2497 17 เมษายน 2497 พระบาทสทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่บริเวณวงเวียนใหญ่ฝั่งธนบุรี 18 เมษายน 2398 ไทยทำสัญญากับอังกฤษเรื่องอำนาจของกงสุลอังกฤษในไทย 19 เมษายน 2421 เริ่มปักเสาโทรเลขต้นแรก ในจำนวน 721 ต้น ระยะทาง 45 กม. เป็นการสร้างสายโทรเลขจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการเป็นสายแรก 19 เมษายน 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมคือ กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร 20 เมษายน 2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แพทย์เริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก 21 เมษายน 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครขึ้น และได้พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา ซึ่งเรียกกันต่อมาในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร 21 เมษายน 2499 นาย ทาวเซนต์ แฮรีส กงสุลอเมริกันประจำญี่ปุ่น เข้ามาเจริญทางไมตรีกับไทยที่กรุงเทพ ฯ เดินทางมาถึง 23 เมษายน 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประพาสประเทศอิหร่าน เป็นเวลา 7 วัน จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2510 24 เมษายน 2355 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขบวนไปรับพระพุทธรูปแก้วผลึกองค์สำคัญคือ พระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งอัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ มาพักรออยู่ที่สระบุรี แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหารราชวัง 24 เมษายน 2372 อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศ 26 เมษายน 2431 วันเปิดโรงพยาบาลศิริราช 27 เมษายน 2354 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ ท้องพระเมรุ 27 เมษายน 2382 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเก้ลา ฯ ให้จ้างโรงพิมท์หมอบรัดเลย์ มัชชันนารี ชาวอเมริกันพิมพ์หมาย ประกาศห้ามสูบฝิ่น และทำฝิ่นจำนวน 90,000 ฉบับ นับเป็นหมายประกาศฉบับแรก ที่ทางราชการให้จัดพิมพ์ขึ้น 28 เมษายน 2493 พระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีวสรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม 28 เมษายน 2507 ตั้งค่ายภานุรังษี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารช่าง จังหวัดทหารบกราชบุรี อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ค่ายเสนาณรงค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ 42 กรมทหารราบที่ 5 กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 5 อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 30 เมษายน 1857 วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 สวรรคต พ.ศ. 1912

พฤษภาคม
1 พฤษภาคม 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนธรรมเนียมออพฟิศใหม่ใช้ยืนและนั่งเก้าอี้แบบฝรั่ง เป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมให้คล้อยตามอารยประเทศ 1 พฤษภาคม 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าให้ ฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ประชาชน มีความรู้ทางวิชาการ 1 พฤษภาคม 2499 ประเทศไทยประกาศให้มีวันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรหรือวันแรงงานแห่งชาติ จัดขึ้นตระหนักถึงความรับผิดชอบ และสำนึกถึงรากฐานความมั่นคง ของการประกอบอาชีพเป็นประโยชน์ ทั้งทางส่วนตัวและประเทศชาติ 4 พฤษภาคม 2442 วันเปิดเรียนของนักเรียนนายเรือรุ่นแรก มีนักเรียนนายเรือ ทั้งหมด 12 คน 5 พฤษภาคม 2430 กำเนิดรถรางไทย ได้เริ่มเดินรถครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เส้นทางบางคอแหลม (ถนนตก) ถึงพระบรมราชวัง 5 พฤษภาคม 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาครั้งที่ 3 เพื่อทรงนำแบบอย่างของต่างประเทศมาปรับปรุงบ้านเมืองไทย การเสด็จครั้งนี้ ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม ถึง 24 กรกฎาคม 2444 รวม 80 วัน 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับบรมราชาภิเษก ต่อมาทางราชการจึงกำหนดในวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันฉัตรมงคล 7 พฤษภาคม 2496 วันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรกจำนวน 30 นาย 7 พฤษภาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอู่ทหารเรือแห่งใหม่ ของกองทัพเรือที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า 8 พฤษภาคม 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุกแรกของไทยขึ้นบริหารประเทศ เรียกการบริหารงานของรัฐมนตรีชุดนี้ว่า สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมาในเดือนมิถุนายน ก็ได้ทรงแต่ตั้ง สภาที่ปรึกษาในพระองค์ขึ้น มีหน้าที่ให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ 9 พฤษภาคม 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาครั้งที่ 2 โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี 9 พฤษภาคม 2484 ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หลังจากยุติกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ประเทศไทยได้รับดินแดนแคว้นหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ แคว้นเขมรบางส่วน ซึ่งรวมทั้งจังหวัดศรีโสภณ และพระตะบอง คืนมา รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24,039 ตรางกิโลเมตร 9 พฤษภาคม 2484 ไทยกับฝรั่งเศสได้ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างกันที่กรุงโตเกียว หลังจากที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส ระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส ใน 6-28 ม.ค. 2484 10 พฤษภาคม 2485 กองทัพพายัพเริ่มเคลื่อนกำลังเข้าสู่สหรัฐไทยเดิม และได้ปฏิบัติการอยู่เป็นระยะเวลา 8 เดือน เศษ จึงได้เริ่มถอนตัวกลับ 13 พฤษภาคม 2485 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกการใช้ ราชทินนามและบรรดาศักดิ์ 14 พฤษภาคม 2394 วันพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 14 พฤษภาคม 2500 รัฐบาลได้จัดพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เรียกว่า พุทธพยุหยาตราทางชลมารค นับเป็นการรื้อฟื้นพิธีพยุหยาตราทางชลมารค หลังจากที่ไม่ได้จัดมาเป็นเวลานาน 15 พฤษภาคม 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ และแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 16 พฤษภาคม 2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จสวรรคต ที่เมืองหาง ซึ่งเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขต พระชนมายุ 50 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 15 ปี 17 พฤษภาคม 2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จก่อพระฤกษ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 17 พฤษภาคม 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโอสถสภาของรัฐบาลขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบและผลิตยาสามัญประจำบ้าน เพื่อผลิตยาจำหน่ายให้แก่ประชาชนในราคาย่อมเยา ในครั้งนั้นเรียกกันว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นยาตำราหลวง 17 พฤษภาคม 2477 วันเปิดโรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร โดยครั้งแรกชื่อว่า โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ต่อมาในปี 2488 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนาฏศิลป จนถึงปัจจุบันนี้ โดยมี พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น สถานที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้าง วังหน้า ติดกับโรงละครแห่งชาติ 17 พฤษภาคม 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างกั้นแม่น้ำปิง 18 พฤษภาคม 2411 ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ สวีเดน นอร์เวย์ 19 พฤษภาคม 2466 พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพล เขตอุดมศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ สิ้นพระชนม์ ที่ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร พระชนม์ 43 ชันษา 19 พฤษภาคม 2491 วันสถาปนา กรมการรักษาดินแดน (รด.) เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยให้ยุบกรมการทหารสารวัตร และแปรสภาพเป็น กรมการรักษาดินแดน 19 พฤษภาคม 2534 พิธีวางศิลาฤกษ์ อนุสรณ์สถานทหารเรือที่เกาะช้าง และเททองหล่อพระรูปเหมือน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพล เขตอุดมศักดิ์ ที่กองทัพเรือและจังหวัดตราด ได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างขึ้น ที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติองค์พระบิดาแห่งราชนาวีไทย และรำลึกถึงเกียรติประวัติ วีรกรรมของทหารเรือไทย ในยุทธนาวีที่เกาะช้าง เมื่อ พ.ศ. 2484 20 พฤษภาคม 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ธนบัตรสยามเป็นครั้งแรก เรียกว่า อัฐกระดาษ 20 พฤษภาคม 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาอนุโลมแดง งานสำคัญของสภาอนุโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปช่วยบำรุงทหารในสนามรบ เมื่อครั้งเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พุทธศักราช 2461 จึงตั้งสภาการกุศลอาสาสงเคราะห์ เพื่อช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม และในยามสงบ กับทั้งบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ โดยไม่เลือชนชั้น ลัทธิศาสนา หรืออุดมคติทางการเมืองของผู้ประสบภัย โดยยึดหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง 20 พฤษภาคม 2436 ได้มีการประชุมสภากาชาดของไทยเป็นครั้งแรกโดยมี พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวีเป็นสภานายิกา 20 พฤษภาคม 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น ร.ศ. 116 เป็นฉบับแรก 20 พฤษภาคม 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ เริ่มการเสือป่าขึ้น 22 พฤษภาคม 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร แก่จังหวัดบุรีรัมย์ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่าง ๆ ทั่งพระราชอาณาจักร พระพุทธรูปองค์นี้นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว ยังเป็นเครื่องหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับบรรดาพสกนิกรทั้งมวลของพระองค์ 23 พฤษภาคม 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยกระบวนแห่จากพระบรมมหาราชวัง มาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์องค์ใหญ่บนยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อภูเขาทองให้ถูกต้องว่า บรมบรรพต 23 พฤษภาคม 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณสี่แยกท่าเรือ ตรงกึ่งกลางถนนเทพกษัตรี กับถนนศรีสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 24 พฤษภาคม 2461 พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ทำสัญญาข้อตกลงกับฝรั่งเศส ว่าด้วยอำนาจศาลทหาร ถือว่าอำนาจศาลไทยมีอำนาจเหนือบุคคลทั้งปวง ในกองทหารไทยที่ไปปฏิบัติการนอกประเทศ ถ้าเกิดคดีขึ้น ทหารไทยจะต้องขึ้นศาลทหารไทย 25 พฤษภาคม 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชพิธีบวรราชาภิเษก สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน 25 พฤษภาคม 2513 วันเปิดอนุสาวรีย์สุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 26 พฤษภาคม 2485 กองพลที่ 3 ของกองทัพพายัพยึดเมืองเชียงตุง อันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิมได้ในสงครามมหาเอเซียบูรพา 27 พฤษภาคม 2467 วันสถาปนา กรมการทหารสื่อสาร 28 พฤษภาคม 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อย หรือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน 29 พฤษภาคม 2499 ไทยทำสัญญาทางไมตรีกับ สหรัฐ เช่นเดียวกับที่ทำกับอังกฤษ และจัดตั้งกงสุลขึ้นที่ กรุงเทพ ฯ ในวันเดียวกันนี้ โดยมี หมอ แมททูน เป็นกงสุลคนแรก 30 พฤษภาคม 2457 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จเปิดโรงพยาบาลจุฬา 30 พฤษภาคม 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยพิการ ที่ อังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น