วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ประเภทและชนิดของเกม

ประเภทและชนิดของเกมมีดังนี้
· เกมออนไลน์ Online Game
o เกมผ่านเว็บ
§ Flash Game
§ เกมแบบใช้โปรแกรมทำงานผ่านเว็บโดยไม่ไม่ติดตั้ง
o Game Program ใช้โปรแกรมติดตั้งก่อนเล่น
§ 3D Game เช่น ปังย่า, เคาเตอร์
· เกมไม่ออนไลน์ Off Line Game
o Game computer 3D
§ DVD Game Install
§ Small Game เช่น Pinball ,เกมยิงลูกแก้ว
o Game Console
o Portable Game เช่น PSP, Game Boy
1.เกมเลียนแบบหรือการจำลอง (Simulation Games) เช่น SIMS ซึ่งเป็นเกมที่พยายามเลียนแบบเหตุการณ์จริง เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เล่น เช่น การฝึกบินจำลอง การขับรถจำลอง ตัวอย่างเกมประเภทนี้ คือ Flight SIM
2.เกมแอคชั่นแบบ FPS(Action First Person Shooters Games) เป็นเกมยิงปืนที่ผู้เล่นเป็นตัวเอกไล่ยิงผู้ร้าย ไปจนถึงสัตว์ประหลาดต่าง ๆ ตามระดับการเล่น มีทั้งเล่นแบบคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่ม ตัวอย่างเกมประเภทนี้ได้แก่ Doom,Half-Life,Quake III
3.เกมผจญภัย (Adventure Games) มีวัตถุประสงค์ของเกมเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จในดินแดนที่สร้างขึ้น ต้องแก้ไขปัญหาหรือหาสิ่งจำเป็นในระดับของเกมที่แตกต่างกันไป เช่น หากุญแจเพื่อไขเปิดห้องลับเพื่อไปหยิบอาวุธ เกมประเภทนี้ได้แก่ Myst ,Zelda
4.เกม RPG (Role-Playing) เป็นเกมที่ผู้เล่นสามารถสร้างหรือเลือก character ของตัวละครให้ตรงกับความชอบของตัวเอง แล้วเล่นไปตามเนื้อเรื่องของเกม ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ Racknaroc,Diablo II
5.เกมต่อสู้ (Fighting Game) เป็นเกมต่อสู้กันโดยมีตัวละครต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ด้วยเทคนิคการต่อสู้เฉพาะตัว ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ Mortal Kombat,Boxing
6.เกมวางแผน (Strategy Games) เกมที่ใช้ความคิด นำกลยุทธ์มาใช้เพื่อเอาชนะ เกมมีเรื่องราวเป็นนิทาน หรือตำนาน มีตัวละครนำและการผูกเรื่องเข้ากับการต่อสู้และวางแผนในเกม ตัวอย่างเกมประเภทนี้ ได้แก่ checkers,Age of Mythology
7.เกมปริศนา (Puzzle Game) เกมแก้ปัญหาให้ลุล่วงตามจุดประสงค์หลักของเกม เช่น Tetris(เกมตัวต่อ นั่นเอง)
8.เกมกีฬาและการแข่งขัน (Sport & Racing Games) วัตถุประสงค์ของเกมเพื่อการเป็นที่หนึ่งของการแข่งขัน เช่น แข่งรถ แข่งฟุตบอล เช่น FIFA Soccer
9.เกมการศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ความรู้และความเพลิดเพลิน


· ผลกระทบที่เกิดจากเกมในด้านสังคม
และ
· ผลกระทบที่เกิดจากเกมในด้านของผู้เล่น

แม้ว่าเกมส์ออนไลน์จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมมาก่อนหน้านี้สัก 2-3 ปีมานี้แล้วแต่ในปี 2547 ดูเหมือนประเด็นนี้กลายเป็นประเด็กที่มีการกล่าวขวัญถึงไม่น้อยโดยเฉพาะในแวดวงเด็กและเยาวชน เกมชนิดนี้เริ่มระบาดลุกลามจนยากจะยับยั้ง จนเกิดภาวะ “เด็กติดเกม” ประเภทไม่ยอมทำอะไรนอกจากเล่นเกมออนไลน์ไปวันๆ หรือเด็กหนีเรียนไปเล่นเกมจนถึงผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ สุดท้ายมันก็กลายเป็นปัญหา เช่น เด็กก้าวร้าวรุนแรงและหมกมุ่นในเรื่องเพศ เป็นต้น
ในปี 2547 นี่เองที่ได้มีความพยายามจากองค์กรต่าง ๆ ในการทำวิจัยถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเล่นเกมออนไลน์ โดยการวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปิดเผยว่าเด็กที่มีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์หรือเกมคอมพิวเตอร์วันละ 3 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลา 15 สัปดาห์จะส่งผลให้เกิดการเสพติดเกมเช่นเดียวกับยาเสพติดเนื่องจากผู้ติดเกมจะมีการหลั่งสารชนิดเดียวกับแอมเฟตามีนที่ผู้ติดยาเสพติดหลั่งออกมาโดยมีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ นั่นเอง ความรุนแรงของการเสพติดเกมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มติดเด็กจะใช้เวลากับการเล่นเกมมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ ส่วนระยะที่ 2 คือ
เด็กเริ่มมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว ใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมและระยะสุดท้ายซึ่งเป็นระยะร้ายแรง คือ เด็กจะติดเกมเหมือนติดยาเสพติด ไม่ยอมทานอาหาร ไม่เรียนหนังสือและขาดความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว ซึ่งหากถึงระยะนี้แล้วผู้ปกครองคงต้องเร่งให้ความช่วยเหลือพร้อมนำบุตรหลานไปพบจิตแพทย์เป็นการด่วนเสียแล้วนอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพกายแล้ว ในเรื่องของจิตใจและอารมณ์ก็นับว่ามีผลไม่น้อยเนื่องจากเกมออนไลน์ส่วนใหญ่มีภาพของความรุนแรง เพราะช่วยสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เล่นได้มากขึ้น เช่น เกมสงคราม เกมการต่อสู้ การใช้เล่ห์เหลี่ยม รวมไปถึงความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น
ด้วยเหตุเหล่านี้นี่เองจึงทำให้เกิดกรณีหนึ่งที่ปรากฏในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งที่คุณแม่ท่านหนึ่ง ล่ามโซ่ลูกชายเอาไว้ เนื่องจากลูกชายชอบหนีเรียนไปเล่นเกมออนไลน์ จนกลายเป็นข่าวขึ้นมา
นี่ก็เป็นวิธีการจัดการของคุณพ่อคุณแม่ประการหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยเข้าท่านัก แต่สำหรับเด็กๆ อีกหลาย ๆ คนที่กำลังรอคอยการแก้ไขและการจัดการจากคุณพ่อคุณแม่คิดว่าคงถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสรรหาวิธีการที่ดีเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกหลานบ้างแล้ว

· ทำอย่างไรจึงจะเล่นให้ถูกที่ถูกทาง ถูกกาลเทศะและมีประโยชน์

จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ นั่นคือ เกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยอีกทั้งยังแทรกซึมสู่บ้านเรือนนับล้านๆ โดยเกมยอดนิยมคือเกมประเภทต่อสู้ ใช้ความรุนแรง ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้เข้าไปดูแลความเป็นไปอย่างใกล้ชิดเท่าที่ควร จนอาการ “ติดเกม” กลายเป็นสิ่งที่พบได้กับเด็กทั่วไป คุณหมอวินัดดาได้ให้ข้อแนะนำในการ “แก้เกม” เมื่อประสบปัญหาดังกล่าวเอาไว้ดังนี้
1. ตกลงกติกากันให้ชัดเจน พยายามให้ลด หรือเลิก ถ้าลด ให้จัดเวลากันใหม่ลดเวลาเล่นลงทีละน้อย เช่น เดิมเล่นทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง ลดลงดังนี้ สัปดาห์แรก ให้เล่นวันละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 ให้เล่นวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 3 ให้เล่นเฉพาะ เสาร์-อาทิตย์ ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง ถ้าเลิกเล่นเกมให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่นทันที กิจกรรมควรสนุกก่อนให้เด็กเพลิดเพลิน เบนความสนใจไปจากเกม
2. การเอาจริงกับข้อตกลง ด้วยสีหน้า ท่าทาง
3. ตกลงทดลองปฏิบัติเป็นเวลาที่แน่นอน เช่น ทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือน แล้วกลับมาประเมินผลร่วมกัน หาทางปรับเปลี่ยนแก้ไข
4. กำหนดทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาเช่น ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไรจะให้ช่วยอย่างไร 5. มีการบันทึกผลการช่วยเหลือ และนำมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ ชมในเรื่องที่ได้ทำไปแล้วได้ผลดี ข้อใดยังทำไม่ได้ ให้กลับมาติดตามงาน
6. ประเมินผลเมื่อครบเวลาที่ตกลงกันไว้
7. ปรับกติกากันใหม่ถ้ามีปัญหาความร่วมมือ หรือทำไม่ได้
8. จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง
9. สร้างความสามารถในการควบคุม เสริมทักษะการควบคุมตนเอง
10.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นเรื่องเกม
11.จัดกิจกรรมให้ใช้เวลาที่เคยเล่นเกม เป็นกิจกรรมที่สนุกอย่างอื่น อย่าปล่อยให้ว่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น