วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

เรื่อง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระมหาราชา
ปีครองราชย์ ปี พ.ศ. 2237 - 2246

เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นชาวบ้านพลูหลวง และเมืองสุพรรณบุรี เมื่อพระนารายณ์ทรงประชวร ได้แต่งตั้งพระราชาเป็นผู้สำเร็จราชการ พระเทพราชาได้ร่วมมือกับหลวงสรศักดิ์ (โอรสของ พระนารายณ์ที่เกิดจากราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่) ฝึกอำนาจจากพระนารายณ์ โดยกำจัดเจ้าฟ้าอภัยทศ พระราชโอรสของพระนารายณ์ เมื่อ พระนารายณ์สวรรคต แล้วปราบดาภิเษกพระเพทราชาเป็นกษัตริย์
ในปีพุทธศักราช 2246 - 2251 พระนามกษัตริย์ คือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 คือ (พระเจ้าเสือ) เป็นโอรสของสมเด็จพระเพทราชา พระนามเดิมหลวงสรศักดิ์ ทรงมีพระอุปนิสัยดุดัน (จริงจัง) จึงได้มีพระนามว่า พระเจ้าเสือ
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2251 – 2275 นามพระมหากษัทตริย์ คือ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นโอรสของพระเจ้าเสือ พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าเพชร ทรงสภาปนาเจ้าฟ้าพรพระอนุชา เป็นพระมหาอุปราช
ในปีพุทธศักราช 2276 – 2307 พระนามพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ พระนามเดิม คือ เจ้าฟ้าพร มีพระโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ เจ้าฟ้าธรรมษาธิเบศร หรือ เจ้าฟ้าเอกทัศ และเจ้าฟ้าอุทุมพร และโอรสที่ประสูตริ แต่สนม คือ กรมหมื่นเทพพิพัช
ในปีพุทธศักราช 2307 – 2307 พระนามพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระเจ้าฟ้าอุทุมพร เป็นโอรสของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศพระราชบิดายก พระราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอุทุมพร เพราะเห็นว่าเจ้าฟ้าเอกทัศไม่มีความสามารถ ทำให้เจ้าฟ้าเอกทัศไม่พอใจ ในที่สุดเจ้าฟ้าอุทุมพรต้องยอมมอบพระราชสมบัติให้พระเชษฐาแล้วเสด็จออกผนวช จึงมีชื่อเรียกชื่อหนึ่งว่า ขุน หลวงหาวัด
ในปีพุทธศักราช 2307 – 2301 พระทามพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีพระนามอีกนามหนึ่งว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยวศน์อมรินทร์ เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ สมัยนี้ไทยต้องเสียกรุงให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ตรงกับกษัตริย์ คือ พระเจ้าบุเรงนอง
การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยามักเป็นเรื่องการแย่งชิงพระราชสมบัติระหว่างชั้นมูลนาย ทำให้พระมหากษัตริย์ถูกปลงพระชนม์ หรือถูกถอดจากราชสมบัติ มีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์หลายครั้ง สาเหตุการแย่งชิงราชสมบัติ เนื่องจาก พระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์ขาดความสามารถหรือขาดกำลังสนับสนุน ซึ่งปัญหานี้ไม่เคยมีการแก้ไข ประเพณีสถาปณาตำแหน่งผู้สืบราชสมบัติ โดยการแต่งตั้งพระราชโอรสองค์โต ดำรงตำแหน่งพระราเมศวร หรือ อุปราชจะได้ราชสมบัติเสมอไป ยังมีสงครามแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนื่อง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้มีการกำหนดการสืบสันติวงศ์ โดยการกำหนดให้พระราชโอรสดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรมงคล หรือวังหน้าเป็นผู้สืบราชสมบัติ แต่ปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติก็ยังคงมี และเป็นสาเหตุหนึ่งของความเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น