วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ( พ.ศ. 2325 - 2352 )

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

• พระราชประวัติสังเขป
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นามเดิมว่า “ทองด้วง” ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2279 ( ในรัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์) ได้รับราชการในรัชกาลพระเจ้าอุทุมพร ต่อมาได้ เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เมื่อคราวพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งตัวอยู่ที่เมืองระยองนั้น หลวงยกกระบัตร ได้นำมารดาพระเจ้ากรุงธนบุรีไปเมืองระยองด้วย จึงมีความชอบได้บรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์และ ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็น ลำดับ พระองค์มีหลักฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาเหล็ก และเจ้าพระยาโกษาปานในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ดังจะได้ลำดับสกุลให้เห็นต่อไปนี้
เจ้าพระยาโกษาปานมีบุตรคนใหญ่ชื่อทองคำ ได้เป็นพระยาราชนิกูลปลัดทูลฉลอง ในกรมมหาดไทย
หลวงพินิจอักษรมีบุตร 5 คน คนที่ 1 เป็นหญิง คนที่ 2 เป็นชาย ปรากฏว่าได้เป็น รามณรงค์ถึงแก่กรรมก่อนกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อแก้ว คนที่ 4 ชื่อ นายด้วง คนที่ 5 เป็นชายชื่อบุญมา นายด้วง คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และนายบุญมาคือพระอนุชา ซึ่งได้ตำแหน่งสูงสุดในสมัยกรุงธนบุรีเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ และได้เป็นพระราชวังบวรสถานมงคล ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2325 สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์) เป็นกรมพระราชวังบวรฯ พระนัดดา ( พระสุริยอภัย ) เป็นเจ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

พ.ศ. 2325
- เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 ( ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144 )

- โปรดเกล้าให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองพระนครใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ 21 เมษายน 2325 ( ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ) ทรงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยามหาดิลกภพราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรวิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์” ( ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยนามพระนครจาก “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “ อมรรัตนโกสินทร์” )

- องเชียงสื่อ ( ญวน ) และนักองค์เอง ( เขมร ) ขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

- โปรดให้อาลักษณ์คัดนิทานอิหร่านราชธรรม
พ.ศ. 2326
- กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

- ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง “อุณรุท”
พ.ศ. 2327
- โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ ทรงพระราชาทนนามพระอารามว่า “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ใช้เป็นที่ประชุมในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

- สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ
พ.ศ. 2329
- สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง
ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าท่าดินแดง
-โปรตุเกสขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
- อังกฤษเช่าเกาะปีนังจากพระยาไทรบุรี
พ.ศ. 2330
- องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมือง
พ.ศ. 2331
- โปรดเกล้าฯ ให้สังคยานาพระไตรปิฎก
พ.ศ. 2333
- องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จ จัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
พ.ศ. 2337
- ทรงอภิเษกให้นักองค์เองเป็น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ไปครองกรุงกัมพูชา
พ.ศ. 2338
- ชำระพระราชพงศาวดาร - โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาพพิชัยราชรถ
พ.ศ. 2339
- งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พ.ศ. 2340
- ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง “รามเกียรติ์”
พ.ศ. 2342
- โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเวชยันตราชรถ
พ.ศ. 2344
- ฉลองวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ - ฟื้นฟูการเล่นสักวา
พ.ศ. 2345
- ราชาภิเษกพระเจ้าเวียตนามญาลอง ( องเชียงสือ )
พ.ศ. 2347
- โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ชำระกฎหมาย จัดเป็นประมวล “กฎหมายตราสามดวง” ขึ้น
พ.ศ. 2349
- ทรงอภิเษกให้ นักองค์จันทร์เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา ครองกรุงกัมพูชา
พ.ศ. 2350
- เริ่มสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม
พ.ศ. 2352
- เสด็จสวรรคต

องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับ วันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี เป็นพระยาราชนรินทรในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรีและสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่ง กรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจาก กรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้างพระบรม มหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เสร็จ ในปี พ.ศ. 2327 ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมา ตั้งแต่ปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรี และในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนา ได้โปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครอง คณะสงฆ์ให้เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ทรงงาน ตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจาก พระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวาง และปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วจึง เสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูลทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้ว จึงเสด็จขึ้น

พระราชนิพนธ์

1. เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง
2. กฎหมายตราสามดวง
3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
4. บทละครเรื่องอุณรุท
5. บทละครเรื่องดาหลัง
6. บทละครเรื่องอิเหนา
7. นิทานอิหร่านราชธรรม
8. การรวบรวมพงศาวดาร

เหตุการณ์ทางวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๑
รัชสมัยเป็นระยะฟื้นฟู และสร้างความเจริญสืบต่อจากสมัยกรุงธนบุรีในด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวัฒนธรรม ศิลปกรรม วรรณคดีฯลฯ ให้คืนสภาพดีเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสนพระทัยการฟื้นฟูวรรณคดีของชาติ พร้อม ๆ กับการปรับปรุงงานทางด้านอื่นด้วย ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อสร้างแล้ว ยังโปรดให้ขุดคลองเหนือวัดสะแก (วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร) พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เช่นเดียวกับคลองมหานาคที่กรุงศรียุธยา เพื่อให้ประชาชนได้ลงเรือเล่นเพลงและสักวาในฤดูน้ำหลาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น