วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552


http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=15299
http://nong503kik.blogspot.com/2008/09/blog-post.html

ชีวประวัติ ท่านสุนทรภู่มหากวีของโลก

:: ชีวประวัติ ท่านสุนทรภู่มหากวีของโลก ::
ประวัติสุนทรภู่สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี เเละทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีเเล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง เเต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ( ภู่ ) เรียกกันสั้นๆ ว่า "สุนทรภู่ " ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น " พระสุนทรโวหาร " เเละถึงเเก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี ผลงานหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่เเต่งมีมากมาย ที่ได้ยินเเต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปเเล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี เเต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่อง คือ - นิราศ ๙ เรื่อง ได้เเก่ นิราศเมืองเเกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระเเท่นดงรัง นิราศพระปฐม เเละนิราศเมืองเพชรบุรี - นิทาน ๕ เรื่อง ได้เเก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ เเละ สิงหไตรภพ - สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้เเก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท เเละสุภาษิตสอนหญิง - บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช - บทเสภา ๒ เรื่อง ได้เเก่ ขุนช้างขุนเเผน ตอนกำเนิดพลายงาม เเละเรื่องพระราชพงศาวดาร - บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้เเก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี เเละเห่เรื่องโคบุตร
:: วัยเด็ก (พ.ศ.๒๓๒๙ - ๒๓๔๙) แรกเกิด - อายุ ๒๐ ปี ::
พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่ และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งใน นิราศเมืองแกลงว่า "จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา" แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙
:: วัยฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙) อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี ::
หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนักในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว ้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาค ในพระราชวังหลัง ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลังสมัยหนุ่ม ว่า "ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล มาทำไร่ทำนาท่านการุญ" นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนักกลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอกบทละครนอก บางทีนิทานเรื่องแรกของ ท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะสมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่าน คนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดัง ในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบท เดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว ดังตอนหนึ่งใน นิราศสุพรรณคำโคลง ท่านรำลึกถึงครั้งเดินทางกับคณะละครว่า " ๏ บางระมาดมิ่งมิตรครั้ง คราวงาน บอกบทบุญยังพยาน พยักหน้า ประทุนประดิษฐาน แทนฮ่อง หอเอย แหวนประดับกับผ้า พี่อ้างรางวัล " นิทานเรื่องสำคัญที่สุด คือ เรื่องพระอภัยมณี ก็น่าจะเริ่มแต่งในช่วงนี้ด้วย (เป็นแต่เริ่มแต่ง มิได้แต่งตลอดทั้งเรื่อง) นิทานเรื่องนี้แปลกแหวกแนวยิ่งกว่า นิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องใดที่เคยมีมา ทำให้คณะ ละครนายบุญยังโด่งดังเป็นพล ุ เป็นที่ต้องการของใครต่อใคร และแน่นอนชื่อเสียงของท่านสุนทรภู่ ก็โด่งดังไปไม่แพ้กัน ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง
:: รับราชการครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗) อายุ ๓๐ - ๓๘ ปี ::
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็น อย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ได้กวดขันการฝึกหัดวิธีรำจนได้ที่ เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบ ทุกวันนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น มูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณี ทอดบัตรสนเท่ห์ เพราะจากกรณีบัตรสนเท่ห์นั้น คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิตถึง ๑๐ คน แม้แต่ นายแหโขลน คนซื้อกระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิตด้วย มีหรือสุนทรภู่จะรอดชีวิตมาได้ นอกจากนี้ สุนทรภู่เป็นแต่เพียงไพร่ มีชีวิตอยู่นอกวังหลวง ช่วงอายุก่อนหน้านี้ก็วนเวียนและเวียนใจอยู่กับเรื่อง ความรัก ที่ไหนจะมีเวลามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง (กรณีวิเคราะห์นี้ มิได้รับรองโดยนักประวัติศาสตร์ เป็นความเห็นของคุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เขียนไว้ในหนังสือ "เที่ยวไปกับสุนทรภู่" ซึ่งเห็นว่ามูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้า รับราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูก็เห็นน่าจะจริง ผิดถูกเช่นไรโปรดใช้วิจารณญาณ) อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในกรมพระอาลักษณ์ เรื่องราวของกวี ที่ปรึกษาท่านนี้ ที่ได้แสดงฝีมือเป็นที่พอพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

:: ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕) อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี ::
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจาก แผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนัก ก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึงเหตุที่สุนทรภู่ไม่กล้ารับราชการต่อใน แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้ "เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ทรงแต่งตอนนางบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าว ดาหาไปใช้บน พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่ง "เมื่อทรงแต่งแล้ว ถึงวันจะอ่านถวายตัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรง ปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งว่า " 'น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว' "สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้เป็น " 'น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว' "โปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ดำรัสว่า เมื่อ ขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข แกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้งหนึ่ง "อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอน ท้าวสามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วสมมาดปรารถนา' " ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า 'ลูกปรารถนาอะไร' พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องแก้ว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา' "ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... " จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอ พระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม หรือวัดแจ้ง ปี พ.ศ.๒๓๗๒เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภ ู่สุขสบายขึ้นพระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ท ี่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมา ก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้า สุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย
:: รับราชการครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘) อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี ::
เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรง พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังแต่งเรื่องสิงหไตรภพถวายกรมหมื่นอัปสรฯ อีกเรื่องหนึ่งแม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทาง และรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชรสุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอาย ได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ ใช้นามสกุล "ภู่เรือหงษ์"

การพัฒนาเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจ
ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ผลผลิตเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการผลิต โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม อันมีผลเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศด้วย
ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ทุกประเทศต่างมุ่งหวังที่จะยกระดับประเทศของตนเองให้พ้นจากคำว่า ประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพลเมืองของประเทศ ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญ คือ
1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เมื่อมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจย่อมหมายถึงการขยายตัวด้านการผลิต สถานประกอบการต่าง ๆ เร่งผลิตสินค้าและบริการ ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เป็นผลดีต่อประชาชนเพราะทำให้เกิดรายได้ มีกำลังซื้อและสามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีโอกาสที่จะแสวงหาความรู้ความสามารถ ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว สามารถแสวงหาปัจจัยสี่ได้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2. พัฒนาความสงบเรียบร้อยของสังคม การที่ประชาชนแต่ละคนมีงานทำ มีรายได้ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นย่อมทำให้สังคมสงบสุข ทั้งนี้เพราะถ้าประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมไม่ก่อเหตุโจรกรรม ติดยาเสพติด หรือประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่เป็นภัยแก่ตนเองและสังคม จึงถือได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจช่วยลดปัญหาสังคมลงได้ในระดับหนึ่ง
3. พัฒนาให้ประเทศมีอำนาจต่อรองและช่วยตนเองทางด้านเศรษฐกิจได้ ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ต่างก็แข่งขันกันยิ่งใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อการมีอำนาจในสังคมโลก อันเป็นเครื่องแสดงถึงการมีอำนาจต่อรองกับประเทศต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือตนเองให้สามารถยืนหยัดอยู่ด้วยความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เมื่อมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจสามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นอย่างดี
4. พัฒนาให้เกิดสันติภาพในสังคมโลก ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ทุกประเทศจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันโดยเฉพาะทางด้านการค้า ซึ่งการติดต่อสัมพันธ์กันนี้ย่อมก่อให้เกิดการช่วยเหลือกันทางด้านเทคโนโลยี เงินทุน ผู้เชี่ยวชาญ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น เป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศให้น้อยลง ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในสังคมโลก
5. พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจสามารถทำได้รวดเร็วสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะสังคมมีการคิดค้นและประดิษฐ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นมาใช้อยู่เสมอ ยิ่งเศรษฐกิจพัฒนามากขึ้นเท่าใดยิ่งมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้นเท่านั้น จึงถึงได้ว่ายุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งความเจริญทางเทคโนโลยี

การวางแผนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Plan) หมายถึง การกำหนดแนวทางของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยทั่วไปแล้วแผนพัฒนาเศรษฐกิจจะแบ่งได้หลายลักษณะ ในที่นี้จะแบ่งตามระยะเวลาในการดำเนินงานดังนี้
1. แผนระยะสั้น คือ แผนที่จะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 ปี เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมในระยะเวลาสั้น ๆ จะมีการปรับปรุงแผนและจัดทำขึ้นใหม่ในแต่ละปี บางครั้งจึงเรียกว่า แผนประจำปี ถือเป็นแผนที่สามารถพัฒนางานด้านต่าง ๆ ได้ตรงจุดมากที่สุด เพราะมีช่วงเวลาของการพัฒนาสั้นจึงสามารถวางแผนพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์
2. แผนระยะกลาง คือ แผนที่จะมีช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 4-6 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นแผนที่กำหนดขึ้นตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนระยะยาวของประเทศ ซึ่งได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมักจะมีระยะเวลาในการดำเนินการ 5 ปี
3. แผนระยะยาว คือ แผนที่กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ในระยะยาวเกินกว่า 6 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็น 10 ปี 15 ปี หรือมากกว่านั้น แนวทางที่กำหนดไว้ในแผนประเภทนี้จะมีลักษณะกว้าง ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการกำหนดเป็นแผนระยะกลางและระยะสั้นต่อไป

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอดีต
ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร์ ก็ได้มีการจัดทำแผนเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” โดยมีลักษณะของหลักเกณฑ์เน้นไปทางลัทธิสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้นำของประเทศ จนถึง พ.ศ. 2496 รัฐบาลได้ตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจทั่วไป ต่อมาสภาแห่งนี้ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อพิจารณางบประมาณการลงทุนที่กำลังขยายตัวในขณะนั้น ซึ่งการดำเนินการของคณะกรรมการฯดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยในระยะเวลาต่อมา
ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 โดยมีการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมารับผิดชอบในการจัดทำ เรียกว่า “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ” สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจไปแล้ว 8 ฉบับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะของการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) โดยสรุปเป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกจิและสังคมแห่งชาติได้ดังนี้

สรุปเป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาฯ
เป้าหมาย
ฉบับที่ 1
พ.ศ. 2504 – 2509
เพื่อเสริมสร้างบริการขึ้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2510 – 2514
เพื่อเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการก่อสร้างโครงการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
ฉบับที่ 3
พ.ศ. 2515 – 2519
เพื่อสร้างประโยชน์จากโครงการพื้นฐานและกระจายการพัฒนาไปสู่ชนบท และกำหนดนโยบายประชากรขึ้นเป็นครั้งแรก
ฉบับที่ 4
พ.ศ. 2520 – 2524
ฟื้นฟูเศรษฐกิจและขยายการส่งออก ปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลังของประเทศ
ฉบับที่ 5
พ.ศ. 2525 – 2529
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินและการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคที่ยากจนและล้าหลัง
ฉบับที่ 6
พ.ศ. 2530 – 2534
เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกระจายรายได้ให้เหมาะสม
ฉบับที่ 7
พ.ศ. 2535 – 2539
เพื่อการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ฉบับที่ 8
พ.ศ. 2540 – 2544
เพื่อระดมการออม ลดความยากจน อนุรักษ์และจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ฉบับที่ 9
พ.ศ. 2545 – 2549
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาค มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี ลดความยากจน เพิ่มการจ้างงานใหม่ รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ ตลอดจนความสามารถทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการพัฒนาและการดำรงชีวิตของคนไทย โดยเน้นเรื่องความพอประมาณอย่างมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันและพึ่งตนเองได้
แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
ปัจจุบันการพัฒนาประเทศของไทยได้เข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในช่วงปี 2540 – 2541 ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง การพัฒนาประเทศหลายด้านต้องหยุดชะงักลง ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของสังคมไทย และในปี พ.ศ. 2544 เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ คือ รัฐบาลปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ และในปี พ.ศ. 2544 เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ คือ รัฐบาลปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 และมีการประกาศให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ขณะที่นโยบายของรัฐบาลมีความสอดคล้องสัมพันธ์ กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง นอกจากนั้น ผลจากการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถสะท้อนความต้องการของประชาชนและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นโยบายรัฐบาลและเป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศ แผนยุทธศาสตร์ชาติ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารองค์กรแนวใหม่แทนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งฉบับปัจจุบันถือเป็นฉบับสุดท้าย
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีจุดเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนได้มีข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาไว้ 3 ด้าน ดังนี้
1) เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของคนจน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนภายในท้องถิ่นและชุมชนของตนเอง รวมทั้งการขยายขอบข่ายความช่วยเหลือและอุดหนุนของรัฐในด้านเงินอุดหนุนการศึกษา กองทุนก็ยืมเพื่อการศึกษาไปยังกลุ่มเป้าหมายคนจน
2) การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีผลกระทบต่อความยากจน โดยการพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมให้เข้าถึงกลุ่มคนจนและผู้ด้อยโอกาส การให้เกษตรกรรายย่อยและคนจนสามารถถือครองที่ดินเพื่อประกอบอาชีพได้
3) การเสริมสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นมีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน
2. การพัฒนาศักยภาพคนไทยและการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคม ในการพัฒนาศักยภาพคนไทยและการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคม จะช่วยผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความยากจนและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
1) พัฒนาศักยภาพคนไทยและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีพ โดยการเร่งรัดการจัดการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี และความร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพ ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2) พัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม โดยการเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถสร้างและพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมในระดับพื้นที่ได้
3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
1) การสร้างกระบวนทัศน์ร่วมให้คนไทยมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
2) การปรับปรุงกลไกและเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) การแยกบทบาทและหน้าที่ขององค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อมเป็นอิสระต่อกัน
4) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการชดเชยความเสียหายจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้
1) การบริหารจัดการด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคเอกชน เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
2) การหายุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ด้านการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในระยะยาวและการรับผลประโยชน์ร่วมกันจากการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
นโยบายและมาตรการในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค
ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการท้องถิ่นในระดับจังหวัดและตำบลขึ้น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืนจากฐานล่างไปสู่ฐานบน จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตและตลาดการค้าของประเทศให้สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศทั้งด้านกายภาพและลักษณะทางสังคม โดยการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท ซึ่งภาครัฐมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการกระจายอำนาจและการพัฒนาของภูมิภาค สามารถสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาค เป็นมาตรการที่ให้ชุมชนมีการขยายกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้ได้ทุกด้าน และมีการขยายพื้นที่จากจังหวัดนำร่องไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของพหุภาคีต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาตำบล โครงการสร้างเศรษฐกิจชุมขนพึ่งตนเองในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนากลุ่มอาชีพ เกิดเครือข่ายขององค์กรชุมชนที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการผู้ด้อยโอกาสในชุมชนมีสวัสดิการที่ดีขึ้น โดยภาครัฐมีบทบาทหน้าที่ในการใช้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ และให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในด้านที่จำเป็นเท่านั้น
2. มาตรการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เป็นการสร้างโอกาสทางอาชีพและการมีงานทำให้เกิดขึ้นภายในชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาเกษตรยั่งยืนภายใต้การสนับสนุนของรัฐในด้านต่าง ๆ เช่น การกระจายบริการทางการเงิน การจูงใจภาคธุรกิจเอกชนเชื่อมโยงกับธุรกิจของชุมชน เป็นต้น
3. มาตรการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลได้ดำเนินการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการและการบริหารราชการแนวใหม่ เพื่อแบ่งแยกภาระกิจและสร้างระบบความรับผิดชอบต่อผลงานให้ชัดเจน โดยได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ส่งผลให้โครงสร้างส่วนราชการเปลี่ยนจากเดิม 14 กระทรวงเป็น 20 กระทรวง
นอกจากนี้ รัฐบาลได้มติเห็นชอบให้ปรับปรุงการบริหารงานของจังหวัดให้เป็นแบบบูรณาการโดยให้จังหวัดมีฐานะเสมือนหน่วยธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถวินิจฉัยข้อมูล ปัญหาและอุปสรรค กำหนดแนวทางแก้ไขและดำเนินการให้เป็นไปตามที่ตัดสินใจได้อย่างครบวงจรภายในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด (Chief Executive Office : CEO) รวมทั้งเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศทุกประเทศใช้การบริหารงานแบบบูรณาการ
สิ่งที่ประชาชนจะได้รับจากการบริหารงานแบบบูรณาการ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ซีอีโอ (CEO) นี้ มีดังนี้
1) ด้านบริการ ได้รับบริการจากรัฐซึ่งมีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมมากกว่าระบบเดิม
2) ด้านปัญหาความเดือดร้อน ปัญหาความเดือดร้อนได้รับการแก้ไข ข้อเรียกร้องและความต้องการต่าง ๆ ได้รับการตอบสนอง โดยประชาชนรับรู้และสามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบได้โดยตรง
3) ด้านการมีส่วนร่วม ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา การแก้ไขปัญหาและการจัดทำบริการ ไม่ใช่ภาครัฐดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียวเหมือนที่ผ่านมา
4) ด้านข้อมูล สามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย ประชาชนอยู่ในสังคมที่สวบเรียบร้อยและมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ผลของการบริหารงานแบบบูรณาการจะทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สนองตอบระเบียบวาระแห่งชาติและปัญหาความต้องการของประชาชน และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน นำความมั่งคั่ง มั่นคงมาสู่ประชาชนและประเทศชาติ
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเกิดภาวะการว่างงานที่ทวีความรุนแรงขึ้นถึงเกือบ 3 เท่าตัว ความยากจนกลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าก่อนวิกฤต มาตรฐานความเป็นอยู่และรายได้ของคนไทยลดลงมาก และกลุ่มคนในชนบทได้รับผลกระทบรุ่นแรงกว่าคนในเมือง การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและลดผลกระทบทางสังคมของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้มีส่วนผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวมีเสถียรภาพและเรียกความเชื่อมั่นคืนมาได้ระดับหนึ่ง แต่ยังคงมีความเปราะบางและมีขีดจำกัดในการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
เมื่อรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาบริหารประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นช่วงระยะเวลาที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังไม่อยู่ในภาวะปกติ ปัญหาผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่คือ ปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจ คนว่างงานยังมีมากกว่า 1.1 ล้านคน และคนไทยยากจนถึง 8.2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณร้ายละ 86.5 อยู่ในชนบท หรือกล่าวได้ว่าคนในชนบทร้อยละ 16.6 เป็นคนยากจนและประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้กำหนดเป็นเป้าหมายหลักที่จะแก้ปัญหาความยากจน โดยการดำเนินนโยบายคู่ขนานหรือสองแนวทางที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีเสถียรภาพ เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสามารถก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่อย่างยั่งยืน
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นองค์รวม โดยมีเป้าหมายการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย และการให้โอกาสแก่ประชาชนที่พัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น นโยบายดังกล่าวประกอบด้วย
1. โครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เป็นนโยบายที่ต้องการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างเร่งด่วนโดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและกหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะทำหน้าที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับเกษตรกรที่อยู่ตามตำบลต่าง ๆ ในการปรับโครงสร้างการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม
2. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นนโยบายที่ต้องการเสริมกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม การแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยรัฐจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท พร้อมเสริมสร้างและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบบริหารจัดการเงินกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญนการสร้างอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล้กในครัวเรือน
จากผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2546 มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 74,589 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 98.7 ของชุมชน หรือหมู่บ้านเป้าหมาย มีสมาชิก 7.7 ล้านราย โดยพบว่าจากประชาชนร้อยละ 65.2 ของชุมชนทั้งหมดที่เป็นสมาชิก ก่องทุนสามารถตอบสนองความต้องการเงินทุนของสมาชิกได้ร้อยละ 94 ของสมาชิกทั้งหมด แต่ยังช่วยเหลือคนยากจนเรื้อรังได้เพียงร้อยละ 6.5 ของประชากรภายในกลุ่มเท่านั้น นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้จากกองทุนได้สงผลให้ประชาชนมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยกองทุนส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการในระดับปานกลาง อย่างไรก็ดีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนับว่ามีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.2 ทั้งยังส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยให้สภาพความเป็นอยู่และความปลอดภัยของชุมชนดีขึ้น
3. โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นนโยบายที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยภาครัฐพร้อมจะให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยการสร้างความแตกต่างและคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด เพื่อสมาชิกในชุมชนสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้ โดยการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการของกรรมการและสมาชิกทั้งด้านการผลิตและทันสมัยตรงตามความต้องการของตลาด เพื่อที่ประชาชนจะมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จากผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2546 พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ภูมิปัญญาและวัตถุดิบในท้องถิ่น นับว่าประสบผลสำเร็จดีทั้งด้านจำนวนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น โดยได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครบทุกตำบล มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นตามหลักเกณฑ์จำนวน 7.753 ผลิตภัณฑ์ และได้รับเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัดจำนวน 925 ผลิตภัณฑ์ ส่วนการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับชาติมีเพียง 461 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งนับว่ายังมีสัดส่วนน้อย จากการสำรวจพบว่าในด้านการพัฒนาการตลาดกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จด้านการเพิ่มยอดขายและแหล่งจำหน่ายเพิ่มขึ้นมีประมาณร้อยละ 85.2 และร้อยละ 57.6 ของจำนวนกลุ่มทั้งหมดตามลำดับ ส่วนการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้ายังอยู่ในระดับเริ่มต้น โครงการนี้ยังมีส่วนสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้นจากการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ การมีเครือข่ายและการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น ทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกเพิ่มขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนกลุ่มทั้งหมด มีงานทำมากขึ้นจากการขยายเวลาการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ขณะเดียวกันชุมชนมีความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้นและยังช่วยบรรเทาปัญหาทางสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
4. โครงการธนาคารประชาชน เป็นนโยบายที่ต้องการกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย เพื่อสร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ทำให้ประชาชนสามารถสร้างงานและรายได้ด้วยตนเอง ซึ่งนโยบายดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารออมสินและเป็นแหล่งเงินกู้ที่สำคัญของประชาชน สามารถกู้เงินได้โดยไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน แต่พิจารณาสินเชื่อจากบุคคลค้ำประกันและเสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบ รวมทั้งความสามารถในการทำรายได้ของธุรกิจส่วนตัวนั้น ๆ เป็นสำคัญซึ่งธนาคารออมสินได้จัดทำโครงการธนาคารประชาชนขึ้นเพื่อสร้างพื้นฐานความมั่นคงที่ยั่งยืน ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยด้วยการบริการที่สมบูรณ์แบบคือการส่งเสริมการออมทรัพย์ ให้คำแนะนำปรึกษาในการประกอบอาชีพ และสนับสนุนเงินทุน
จากผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีสมาชิกรวม 583,297 ราย และธนาคารออมสินให้เงินกู้แก่สมาชิกแล้วมากกว่า 400,000 ราย เป็นเงินให้กู้รวม 11,122.8 ล้านบาท สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ธนาคารกำหนดให้กู้ได้ไม่เกินรายละ 30,000 บาทโดยใช้เป็นเพียงเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพมากกว่าเป็นเงินลงทุน และใช้ในกิจการเดิมมากกว่าอาชีพใหม่ การให้เงินกู้ของธนาคารประชาชนช่วยให้สมาชิกที่มีหนี้สินนอกระบบสามารถลดจำนวนหนี้สินนอกระบบลงซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมาชิกร้อยละ 81 มีรายได้เพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการจ้างงานนอกครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และพบว่าสมาชิกร้อยละ 98.3 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ เนื่องจากช่วยให้มีโอกาสกู้ในระบบในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
5. โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างและรักษาฐานการผลิต การจ้างงาน การสร้างรายได้ การส่งออก และเป็นการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งโครงการสินเชื่อห้องแถวของธนาคารออมสินในการช่วยเหลือร้านค้าปลีกเพื่อไม่ให้ปิดกิจการ มีการจัดทำระบบจัดซื้อรวม ให้สินเชื่อรวม นอกจากนี้ยังจัดตั้งบริษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์เพื่อดำเนินการให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ออกจากระบบของธนาคารพาณิชย์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แกสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการผลิตและบริการ
โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2545 และสิ้นสุดโครงการแล้ว พบว่าประสบความสำเร็จสูงกว่าเป้าหมาย 1.2 เท่า มีผู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจสูงกว่าเป้าหมาย 1.05 เท่า และสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้มากกว่าเป้าหมาย 1.3 เท่า นอกจากนี้โครงการได้มีผลกระทบทำให้มีการลงทุนสูงกว่าเป้าหมายเกือบ 5 เท่า การจ้างงานสูงกว่า 1.7 เท่า ทำให้แรงงานและผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น
6. โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นนโยบายที่สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศและประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพโดยเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
จากผลการดำเนินงานในปี พ.ศ.2546 สามารถขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิได้ 45.4 ล้านคน ทำให้รัฐสามารถสร้างหลักประกันสุขภาพทุกรูปแบบแก่ประชาชนได้ร้อยละ 95.7 ของประชากรทั้งประเทศ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการรับบริการโดยเฉพาะคนยากจนและผู้ด้วยโอกาส ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และสร้างความเสมอภาคในการใช้บริการของประชาชน
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในด้านการบริการจัดการการบริหารการเงินและงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ทำให้สถานพยาบาลจำนวนมากกำลังประสบกับภาวะวิกฤตทางการเงินและมีผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรและคุณภาพการให้บริการ ซึ่งอาจกระทบต่อความยั่งยืนของการดำเนินโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้แก่
1. นโยบายการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้นำทรัพย์สินของภาครัฐและภาคเอกชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ สามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวมาแปลงให้เป็นทุนเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้และกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2. นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน นอกจากนโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขและบรรเทาหนี้สินเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ด้วยการให้สินเชื่อและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำให้ครัวเรือนยากจนมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการในระยะยาวนั้น รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปภายใน 6 ปี โดยเริ่มต้นให้ประชาชนลงทะเบียนคนจน เพื่อแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการทั่วประเทศ และมีผู้จดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 8,771,815 คน มีปัญหาซึ่งแยกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ หนี้สินภาคประชาชน ที่ดินทำกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย นักเรียนนักศึกษาต้องการทำงาน การหลอกวง คนเร่ร่อน อาชีพผิดกฎหมาย และปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 13,363,711 ปัญหา ซึ่งรัฐบาลจะได้นำไปกำหนดแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์หลักในการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจรายภาค
จากการปฏิรูประบบราชการและการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อเป็นหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ภาครัฐในระดับพื้นที่ ได้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัดเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจรายภาค ซึ่งแบ่งกลุ่มจังหวัดเป็น 19 กลุ่ม ดังนี้
ภาคกลาง
1. ภาคกลางตอนบน กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นเขตสร้างสรรค์และนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการเป็นศูนย์เชื่อมโยงการคมนาคมเพื่อกระจายสินค้าและบริการสู่ทุกภูมิภาค กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และอ่างทอง
2. ภาคกลางตอนบน กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นแหล่งผลิตและรวบรวมสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง และเป็นศูนย์บริการการคมนาคมทางบกที่ได้มาตรฐาน กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท
3. ภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาตร์ฯ โดยมุ่งเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมสู่ชายแดนด้านตะวันตกและนานาชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี
4. ภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นกลุ่มจังหวัดที่เป็นศูนย์การผลิตและแปรรูปสินค้าประมงและเกษตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญสู่และแปรรูปสินค้าประมงและเกษตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญสู่ภาคใต้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
5. ภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 3 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นแหล่งรองรับการขยายตัวของเมืองหลวง และสนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและแพทย์แผนไทย ศูนย์กลางการส่งกำลังบำรุงเชื่อมโยงเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมสู่อินโดจีนและตลาดโลก กลุ่มนี้มี 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว และปราจีนบุรี
ภาคตะวันออก
6. ภาคตะวันออก กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นผู้นำการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลไม้ ควบคู่ไปกับการเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายของการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคเหนือ
7. ภาคเหนือตอนบน กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ไปเป็นประตูทองการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา น่าอยู่ทุกถิ่นที่ ภาคเหนือตอนบนมี 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน
8. ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ โดยมุ่งเป็นศูนย์กลางบริการสี่แยกอินโดจีน กลุ่มนี้มี 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์
9. ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ โดยมุ่งเป็นศูนย์ธุรกิจข้าวชั้นนำของประเทศไทย กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นแหล่งพำนักแห่งที่ 2 ของนักลงทุนและนักท่องเที่ยว กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และเลย
11. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นสะพาน การค้าและการท่องเที่ยวอินโดจีน (Trade and Tour Bridge to Indochina and Beyond) กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์
12. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 3 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน และการบริการในภูมิภาคสู่สากล (Regional Commerce-Investment and Services Center Forwards Internationa) กลุ่มนี้มี 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด
14. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มนี้มี 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร
ภาคใต้
15. ภาคใต้ตอนบน กลุ่มที่ 1 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ โดยมุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงประเทศฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางส่งออกผลไม้ และมุ่งสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในดินแดนแห่งทะเลไร้มลพิษที่ยั่งยืน กลุ่มนี้มี 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฏร์ธานี ชุมพร และระนอง
16. ภาคใต้ตอนบน กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาดภาคเกษตรมุ่งสู่สากล เป็นเอาแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม พร้อมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน (Green Gold, Green Tourism) กลุ่มนี้มี 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง
17. ภาคใต้ตอนบน กลุ่มที่ 3 หรือกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจเอเชียใต้ กลุ่มนี้มี 3 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พังงา และภูเก็ต
18. ภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มที่1 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลการศึกษานานาชาติ การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านและโลกมุสลิม บนพื้นฐานแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี และดินแดนแห่งสันติสุข กลุ่มนี้มี 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
19. ภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก เมืองท่าสองทะเล เมืองธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และการศึกษาของภาคใต้ กลุ่มนี้มี 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจรายภาคภายใต้การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จะช่วยให้เกิดประโยชน์สุข และนำความมั่งคั่งมั่นคงมาสู่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป

การใช้CTRL หรือ การใช้คีร์ลัด

การใช้ CTRL + ???
CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด
CTRL + SHIFT + A = All Caps ทำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (สำหรับภาษาอังกฤษ)
CTRL + B = Bold ตัวหนา
CTRL + SHIFT + B = Bold ตัวหนา
CTRL + C = Copy คัดลอก
CTRL + SHIFT + C = Copy Format คัดลอกรูปแบบ
CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร
CTRL + SHIFT + D = Double Underline ขีดเส้นใต้ 2 เส้น
CTRL + E = Center ตรงกลาง
CTRL + SHIFT + E = Revision Mark Toggle สลับการทำเครื่องหมายรุ่นเอกสาร
CTRL + F = Find ค้นหา
CTRL + SHIFT + F = Fonts Name Select เลือกชื่อแบบอักษร
CTRL + G = Goto ไปที่
CTRL + SHIFT + G = Word count นับจำนวนคำ
CTRL + H = Replace แทนที่
CTRL + SHIFT + H = Hidden ซ่อน
CTRL + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + SHIFT + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ
CTRL + SHIFT + J = Thai Justify จัดคำแบบไทย
CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ
CTRL + SHIFT + K = Small Caps ทำอักษรตัวพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แบบเล็กๆ
CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย
CTRL + SHIFT + L = Apply List Bullet ใช้เครื่องหมายหน้าข้อ
CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง
CTRL + SHIFT + M = Unindent ลดระยะเยื้อง
CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่
CTRL + SHIFT + N = Normal Style ใช้ลักษณะแบบปกติ
CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่
CTRL + SHIFT + O = N/A
CTRL + P = Print พิมพ์
CTRL + SHIFT + P = Font Size Select เลือกขนาดแบบอักษร
CTRL + Q = Reset Paragraph ตั้งค่าย่อหน้าใหม่
CTRL + SHIFT + Q = Symbol Font ใช้แบบอักษรสัญลักษณ์
CTRL + R = Right จัดชิดขวา
CTRL + SHIFT + R = Recount Words นับคำใหม่
CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก)
CTRL + SHIFT + S = Style กำหนดลักษณะ
CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ)
CTRL + SHIFT + T = Unhang ไม่แขวนภาพ
CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + SHIFT + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + V = Paste วาง
CTRL + SHIFT + V = Paste Format วางรูปแบบ
CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม
CTRL + SHIFT + W = Word Underline ขีดเส้นใต้เฉพาะคำ
CTRL + X = Cut ตัด
CTRL + SHIFT + X = N/A
CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ
CTRL + SHIFT + Y = N/A
CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด
CTRL + SHIFT + Z = Reset Character ตั้งค่าแบบอักษรใหม่
CTRL + ALT + A = N/A
Special Keys
CTRL + ALT + B = N/A
CTRL + < = Decrease Font size by step เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + ALT + C = Copyright sign ((c)) สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์
CTRL + > = Increase Font size by step ลดขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + ALT + D = N/A
CTRL + [ = Decrease Font size by point เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + ALT + E = Euro Sign (?) สัญลักษณ์เงินยูโร
CTRL + > = Increase Font size by point ลดขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + ALT + F = Insert Footnote Now แทรกหมายเหตุ
CTRL + - = Optional Hyphen แทรกยัติภังค์
CTRL + ALT + G = N/A
CTRL + _ = Non Breaking Hyphen แทรกยัติภังค์แบบไม่แบ่งคำ
CTRL + ALT + H = N/A
CTRL + = = Sub Script ตัวห้อย
CTRL + ALT + I = Print Preview ตัวอย่างก่อนพิมพ์
CTRL + + = Super Script ตัวยก
CTRL + ALT + J = N/A
CTRL + \\ = Toggle Master sub document สลับไปมาระหว่างเอกสาร
CTRL + ALT + K = Auto Format จัดรูปแบบอัตโนมัติ
CTRL + ALT + L = Insert List Number แทรกเลขลำดับหน้าข้อ
CTRL + ALT + M = Insert Annotation แทรกคำอธิบาย
CTRL + ALT + N = Normal View มุมมองปกติ
CTRL + ALT + O = Outline View มุมมองแบบร่าง
CTRL + ALT + P = Page View มุมมองเหมือนพิมพ์
CTRL + ALT + Q = N/A
CTRL + ALT + R = Registered sign สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
CTRL + ALT + S = Document Split แยกเอกสาร
CTRL + ALT + T = Trade Mark sign (?) สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า
CTRL + ALT + U = Update Auto Format for Table ปรับปรุงการจัดรูปแบบอัตโนมัติในตารางน
CTRL + ALT + V = Insert Auto Text แทรกข้อความอัตโนมัติ
CTRL + ALT + W = N/A
CTRL + ALT + X = N/A
CTRL + ALT + Y = Repeat find ค้นหาเพิ่มเติม
CTRL + ALT + Z = Go back ย้อนกลับ

เคลือบกรอปรูปวิทยาศาสตร์

เคลือบกรอปรูปวิทยาศาสตร์
เครื่องมือ
แผ่นฟิล์มไมล่าร์ คัทเตอร์
ไม้บรรทัด ลูกกลิ้ง
ไขควง ถ้วยใส่เรซิ่นพร้อมที่คน
ปากกาเมจิกสีดำ พู่กัน
วัสดุไม้แผ่นขนาดเหมาะสมกับรูป กระดาษลายหน้า-หลัง
น้ำยาเรซิ่น น้ำยาฮาร์ดเดนเนอร์
น้ำยากันซึม ทินเนอร์
กาวลาเท็กซ์ กระดาษกาวย่น
กระดาษทรายน้ำเบอร์150
ทุกอย่างหาซื้อได้จากร้านขายเครื่องอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป หรือเปิดดูสมุดหน้าเหลืองดูหมวดเรซิ่นก็จะรู้ว่าที่ไหนมีจำหน่ายอุปกรณ์เหล่านี้บ้าง
อัตราส่วนผสมระหว่างเรซิ่นกับฮาร์ดเดนเนอร์
ภาพขนาด 11”x14”
ใช้เรซิ่น 909 130 ซีซี ฮาดเดนเนอร์ 22-25 หยด
ภาพขนาด 10”x12”
ใช้เรซิ่น 909 100 ซีซี ฮาดเดนเนอร์ 18-20 หยด
ภาพขนาด 8”x10”
ใช้เรซิ่น 909 70 ซีซี ฮาดเดนเนอร์ 12-14 หยด
ภาพขนาด 5”x7”
ใช้เรซิ่น 909 40 ซีซี ฮาดเดนเนอร์ 9-10 หยด
ภาพขนาด 3”x5”
ใช้เรซิ่น 909 25 ซีซี ฮาดเดนเนอร์ 5-7 หยด
การเคลือบภาพ
1. การเคลือบรูป รูปที่ใช้ในการทำกรอปรูปวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 รูปที่สามารถเคลือบได้ เช่นรูปถ่ายที่อัดจากร้านถ่ายรูป 1.2 รูปที่ต้องทาน้ำยากันซึมก่อนถึงจะเคลือบได้ เช่น รูปโปสเตอร์ รูปจากหนังสือนิตยสารต่าง ๆ สิ่งพิมพ์, ธนบัตร, ประกาศนียบัตรต่าง ๆ
2. การเคลือบไม้ ไม้ที่จะใช้ติดรูปเพื่อทำกรอบวิทยาศาสตร์ได้แก่ไม้ เอ็มดีเอฟ หรือเรียกว่าไม้อัด มีความหนาตั้งแต่ 3 มม. ถึง 9 มม.
2.1 เลือกไม้อัดให้เหมาะสมกับรูป
2.2 ด้านบนและด้านล่างจะต้องเรียบไม่ขรุขระหรือเป็นหลุม วิธีการทำกรอปรูปวิทยาศาสตร์
1. ติดกระดาษลายกับไม้อัดทั้ง 2 ด้านโดยการทากาวที่ไม้อัดตลอดทั้งแผ่นให้เรียบและไม่หนาจนเกินไป นำกระดาษลายตัดไว้มาติดบนแผ่นไม้ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศใช้คัทเตอร์ตัดส่วนที่เกินจากไม้ให้ชิดขอบไม้ทุกด้าน
2. ติดรูปกับไม้ โดยการนำรูปมาทากาวด้านหลังรูปให้ทั่วบานและไม่หนาจนเกินไปนำไปติดตรงจุดที่กำหนดไว้บนแผ่นไม้อัด ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ
3. ติดดิ้นเงินและดิ้นทองตามรอยขอบรูปภาพทั้ง 4 ด้าน
4. ทายากันซึมในกรณีที่ไม่ใช่รูปถ่าย การทาน้ำยากันซึมควรทาประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งต้องทิ้งเอาไว้ให้แห้งเสียก่อน
5. ติดกระดาษกาวย่น ที่ขอบรูปทั้ง 4 ด้านให้ต่ำจากด้านขอบด้านหน้าประมาณ 0.5 มม. การติดกระดาษกาวนี้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะที่ขอบไม้ และไหลลงไปเบื้อนด้านหลังรูป
6. นำรูปที่เตรียมเรียบร้อยแล้ววางลงบนที่รองสูงจากพื้นประมาณ 1-2 นิ้ว ควรปูกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านล่างของที่รองก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นไหลลงไปเลอะที่พื้น
7. ผสมน้ำยาเรซิ่นในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของกรอปรูปแล้วคนให้เข้ากันประมาณ 1 นาที
8. การเคลือบน้ำยาเรซิ่น
8.1 การเคลือบน้ำยาเรซิ่นครั้งที่ 1 เทเรซิ่นที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วลงตรงกลางรูป นำแผ่นฟิล์มไมล่าร์ที่ขึงไว้กับเฟรมวางทับลงบนน้ำยาเรซิ่นแล้วใช้ลูกกลิ้งยาง กลิ้งบนแผ่นฟิล์มให้น้ำยาเรซิ่นวิ่งไปบนรูปจนไม่มีฟองอากาศ (การกลิ้ง ควรกลิ้งจากกลางรูปออกไปทั้ง 4 ด้าน) หรือหลังจากที่เทเรซิ่นลงบนภาพและใช้แผ่นฟิล์มโมล่าร์ทับแล้ว เอาแผ่นกระจกทับลงบนแผ่นฟิล์มไมล่าร์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้น้ำยาเคลือบเมื่อแห้งแล้วราบเรียบเหมือนกับกระจกทิ้งเอาไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อน้ำยาแห้งดีแล้วจึงแกะแผ่นฟิล์มไมล่าร์ออกจากแผ่นภาพ จะได้ภาพเคลือบน้ำยา เป็นการเคลือบกรอปรูปวิทยาศาสตร์ตามต้องการ
8.2 การเคลือบน้ำยาเรซิ่นครั้งที่ 2 เมื่อเคลือบน้ำยาเรซิ่นครั้งที่ 1 แล้ว จะเคลือบอีกสักกี่ครั้งก็ได้ ก่อนที่จะทำการเคลือบทับ จะต้องขัดผิวหน้าด้วยกระดาษทราย บริเวณขอบที่เป็นลายไม้อย่างขัดตรงกลางรูปเพื่อให้น้ำยาเรซิ่นติดแน่นกับของเก่าได้สนิทส่วนที่มัวเพราะการขัด เมื่อเคลือบทับจะเป็นเงาขึ้นมาเอง การเคลือบทับนี้ทำเหมือนกับขั้นตอนที่ 1 การเคลือบทับนี้จะทำให้ผิวหน้าของเรซิ่นหนาขึ้น ไม่สะดุดตรงรอยต่อรูปหรือลายไม้หรือลายเส้น
9. หลังจากเคลือบเรซิ่นจนได้ผิวหน้าที่เรียบและสวยงามแล้ว ใช้คัทเตอร์ตัดส่วนที่เลยออกจากขอบรูป โดยให้ตั้งฉากกับแนวขอบรูป แกะกระดาษลายที่ขอบทั้ง 4 ด้านให้เรียบร้อย ทำความสะอาด ติดขาตั้งหรือใส่โซ่สำหรับแขวน ข้อควรระวัง
1. ฮาร์ดเดนเนอร์หรือตัวทำแข็ง ถ้าถูกผิวหนัง ควรใช้สบู่ล้างดีกว่าผงซักฟอก เพราะเป็นกรดชนิดหนึ่ง
2. น้ำยาเรซิ่นมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือน ไม่ควรเก็บเอาไว้ในที่มีอากาศร้อนจัด ควรเก็บเอาไว้ในที่ทึบแสง อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส
3. การผสมเรซิ่นตัวทำให้แข็ง ถ้าอากาศร้อนให้ลดปริมาณตัวทำให้แข็งลง ถ้าอากาศเย็นให้เพิ่มปริมาณตัวทำให้แข็งมากขึ้น
4. การคนน้ำยาไม่ทั่วถึง จะทำให้เรซิ่นที่ผสมแข็งตัวไม่เสมอกัน
5. การเก็บและรักษาทำความสะอาดแผ่นฟิล์มไมล่าร์ ระวังอย่าให้แผ่นฟิล์มหักหรือเป็นรอย
6. รูปถ่ายที่เป็นกระดาษอัดรูป (ยกเว้นกระดาษพิมพ์ต่าง ๆ) ถ้าเปื้อนกาวหรือรอยนิ้วมือให้ใช้ทินเนอร์เช็ดทำความสะอาดได้ แต่อย่าให้ถูกกระดาษลายไม้ เพราะจะทำให้กระดาษลายไม้ลอกทันที

อาหารและสารอาหาร

อาหารและสารอาหาร

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากอาหารที่รับประทาน จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และสร้างภูมิต้านทานโรค อาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ สารอาหารเหล่านี้มีธาตุหลักที่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน การรับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี ซึ่งมีผลทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายผิดปกติ ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้มีการนำสารปรุงแต่งมาใช้ปรุงอาหารและอาจมีสิ่งปนเปื้อน ที่เป็นอันตรายต่อการบริโภคปนมาในอาหารที่เรารับประทาน ดังนั้นจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับสารอาหารแต่ละประเภทการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนในอาหาร เพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน เหมาะสมกับเพศและวัย
การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสมและมีคุณภาพ จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค มีภูมิต้านทานโรค และมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่ดี
อาหาร (Food) คือ สิ่งที่รับประทานแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากช่วยสร้างความเจริญเติบโต ให้พลังงาน และช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวได้ ทำงานได้ และมีสุขภาพที่แข็งแรงส่วน สารอาหาร (Nutrient) คือ สารเคมีที่มีอยู่ในอาหารชนิดต่าง ๆ ซึ่งมี 6 ชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรด โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ สารอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้จะมีอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ ดังนี้
หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเครต
หมู่ที่ 3 พืชผักต่าง ๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุเป็นหลัก
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุ
หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ให้สารอาหารประเภทไขมัน
ส่วนน้ำจะมีอยู่ในอาหารทุกหมู่ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี ช่วยคลุกเคล้าอาหาร และมีแทรกอยู่ในอาหารทุกชนิดตามธรรมชาติ
สารอาหารแต่ละประเภทจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายแตกต่างกัน เมื่อจำแนกประเภทของสารอาหารโดยใช้การให้พลังงานเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
1. สารอาหารที่ให้พลังงาน
ในชีวิตประจำวันเราต้องทำกิจกรรมมากมายจึงจำเป็นต้องใช้พลังงาน ซึ่งแหล่งพลังงาน ได้แก่ อาหาร สารอาหารต่างประเภทกันจะให้ปริมาณพลังงานที่แตกต่างกัน ซึ่งสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
1.1 คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ กลุ่มอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น แป้งมัน เผือก มัน น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด เป็นต้น
คาร์โบไฮเดรตเมื่อย่อยแล้วจะได้น้ำตาลโมเลกุลเล็ก ๆ ได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลกโทส
ประโยชน์ของอาการประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อร่างกาย ได้แก่
1. ให้พลังงานแก่ร่างกาย
2. เป็นแหล่งพลังงานที่สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน จะนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดอาหาร
3. ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกายได้
1.2 โปรตีน (Protein)
อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ เมื่อรับประทานและผ่านกระบวนการย่อยอาหารแล้วจะได้กรดอะมิโน ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ประโยชน์ของอาหารประเภทโปรตีนที่มีต่อร่างกาย ได้แก่
1. ให้พลังงานแก่ร่างกาย
2. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคและฮอร์โมนหลายชนิด
4. ร่างกายสามารถเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้
1.3 ไขมัน (Fat)
อาหารประเภทไขมัน ได้แก่ น้ำมัน และไขมันจากพืชและสัตว์ โมเลกุลของไขมัน เรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เมื่อย่อยแล้วจะได้กลีเซอรอล (Glycerol) และกรดไขมัน (Fatty Acid)
กรดไขมันมี 2 ชนิด คือ กรดไขมันชนิดอิ่มตัว ซึ่งทำให้เกิดคอเลสเทอรอลที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่น้ำมันจากสัตว์จะมีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าน้ำมันจากพืช
ประโยชน์ของไขมันที่มี่ต่อร่างกายได้แก่
1. ให้พลังงานแก่ร่างกายมากกว่าโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้ 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม
2. ช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค เนื่องจากวิตามินเหล่านี้เป็นวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในน้ำมันและไขมัน
3. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
4. เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกายเมื่อร่างกายขาดอาหาร
ถ้ารับประทานอาหารที่มีสารอาหารประเภทไขมันมากเกินไป ไขมันส่วนที่เกินนั้นส่วนใหญ่จะไปสะสมอยู่บริเวณหน้าท้องและสะโพก และอาจสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดฝอยในสมองแตก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อร่างกาย
2. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
สารอาหารประเภทที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ร่างกายขาดไม่ได้ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ช่วยสร้างความเจริญเติบโต และช่วยควบคุมระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ สารอาหารประเภทนี้ ได้แก่ วิตามิน และแร่ธาตุ
2.1 วิตามิน (Vitamin)
สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานประเภทวิตามินมีหลายชนิด ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ขาดไม่ได้ วิตามินต่างชนิดกันมีผลต่อร่างกายต่างกัน ซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณที่จำกัด ถ้าได้รับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ หรือที่เรียกกันว่าเป็นโรคได้ สารอาหารประเภทวิตามินจะเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในอาหารโดยทั่วไป โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสีเขียวและสีเหลือง ถั่ว น้ำมันพืช เนื้อสัตว์ ตับ และเครื่องในสัตว์
ร่างกายจะได้รับประมาณของวิตามินอย่างเพียงพอและเหมาะสมจากการรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน
การทดสอบวิตามิน วิตามินแต่ละชนิดจะพบได้ในอาหารหลายอย่างในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเกิดความเข้าใจวิธีการทดสอบวิตามินมากขึ้นจากการทำกิจกรรม
ประเภทของวิตามิน
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี 1, บี 2, บี 6, บี 12 และวิตามินซี
2) วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค
วิตามินมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความสำคัญต่อร่างกายแตกต่างกัน และมีอยู่ในอาหารหลายชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน



ตารางแสดงชนิดของวิตามิน แหล่งอาหารที่ให้วิตามิน ประโยชน์ และอาการเมื่อขาดวิตามิน
วิตามิน
แหล่งอาหาร
ประโยชน์
อาการเมื่อขาดวิตามิน
ละลายในไขมัน
A
เรตินอล
(retinol)
ตับ ไต น้ำมันตับปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม เม็ดสีเขียว ในผักผลไม้ แคโรทีน (caroten)
ช่วยในการมองเห็นในที่สลัว รักษาสุขภาพผิวหนัง
มองไม่เห็นในที่สลัว ตาอักเสบ ตาแห้ง ผิวหนังแห้ง
D
แคลซิเฟอรอล
(calciferol)
ตับ น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง มาการีนหรือเนยเทียม
ช่วยในการดูดซึมธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส เก็บสำรองแร่ธาตุไว้ในกระดูกและฟัน
เป็นโรคกระดูกอ่อน ฟันผุ
E
แอลฟา โทโคเฟอรอล
เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว ถั่ว นม ธัญพืช น้ำมันพืช
ช่วยป้องกันการเป็นหมัน ช่วยสลายสารอาหารในเซลล์กล้ามเนื้อเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง
เป็นหมัน อาจทำให้แท้งได้ เกิดโรคโลหิตจางในเด็ก
K
แอลฟา ฟิลโลควิโนน
ตับ ผลไม้ ธัญพืช มะเขือเทศ ผักใบเขียว ผักขม และแบคทีเรียในลำไส้สร้างขึ้นได้
จำเป็นในการสร้างโพรทรอมบิน (Prothrombin) ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็ว
เลือดเป็นลิ่มช้า แข็งตัวยาก
ละลายในน้ำ
B1
ไทอามีน
(thiamine)
ข้าวซ้อมมือ ตับ ถั่ว ไข่ มันเทศ รำ จมูกข้าว
บำรุงประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ
เป็นโรคเหน็บชา เบื่ออาหาร ไม่มีแรง การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
B2
โรโบเฟลวิน
(riboflavin)
นม ไข่ ถั่ว ปลา
ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ ทำให้ผิวหนัง ลิ้น ตา มีสุขภาพดี
โรคปากนกกระจอก ผัวหนังแห้งและแตก ลิ้นอักเสบ
B5
กรดไนโคตินิค
(nicotinic acid)
เนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ยีสต์ ผักสด
ช่วยในปฎิกิริยาการหายใจของเซลล์
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผิวหนังถูกแสงแดดแล้วอักเสบ มีอาการประสาทหลอน
B6
ไพริดอกซิน
(pyridoxine)
นม ไข่ ถั่ว ปลา ตับ ข้าวซ้อมมือ
ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารและบำรุงผิวหนัง
คันตามผิวหนัง ผมร่วงประสาทเสื่อม ปวดตามมือตามเท้า
B12
ไซยาโนโคบาลามิน
(cyanocobalamine)
ยีสต์ ตับ ไข่ เนื้อปลา (ไม่พบในพืช)
ช่วยสร้างโปรตีน ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
โลหิตจาง เจ็บลิ้น เจ็บปาก การเจริญเติบโตในเด็กไม่เป็นไปตามปกติ

วิตามิน
แหล่งอาหาร
ประโยชน์
อาการเมื่อขาดวิตามิน
C
กรดแอสคอร์บิก
(ascorbic acid)
ผักใบเขียว มันฝรั่ง มะเขือเทศ ผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น สัม มะนาว
จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รักษาสุขภาพของฟันและเหงือก ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
เลือดออกตามไรฟัน หลอดเลือดฝอยเปราะ เหงือกบวน เป็นหวัดได้ง่าย

วิตามินบีรวม (B-Complex) คือ วิตามินบี1-บี12 วิตามินรวมที่ขายบางชนิดจะรวมวิตามินบี 1, บี 6 และบี 12 (one – six – twelve) ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงผิวหนัง ช่วยสร้างโปรตีนและเม็ดเลือดแดง
วิตามินซี มีรสเปรี้ยว ละลายในน้ำได้ดี สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงสว่าง ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคือง อาจทำให้ตะกอนรวมตัวสะสมในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เป็นนิ่วได้
2.2 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (Mineral)
เกลือแร่ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกว่าแร่ธาตุ เป็นสารอาหารประเภทไม่ให้พลังงาน ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ มีมากในอาหารหมู่ผักและผลไม้ แร่ธาตุช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ถ้าร่างกายได้รับแร่ธาตุมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้ ซึ่งจะได้ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและแหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุบางชนิดที่ร่างกายต้องการจากตารางข้อมูล
ตารางแสดงความสำคัญและแหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุบางชนิดที่ร่างกายต้องการ
แร่ธาตุ
ความสำคัญ
แหล่งอาหาร
แคลเซียม
(Ca)
- เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสและเอนไซม์บางชนิด
- ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้เลือดแข็งตัว
เนื้อ นม ไข่ กุ้ง ปู ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก ผักสีเขียว
ฟอสฟอรัส
(P)
- ร่วมกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน
- ช่วยสร้างเซลล์สมองและเซลล์ประสาท
- ถ้าขาดจะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ฟันผุ
เนื้อ นม ไข่ ผักสีเขียว ถั่ว
เหล็ก
(Fe)
- เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเอนไซม์บางชนิด
- ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง เหนื่อยง่าย
เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ ถั่ว ผักสีเขียว งาดำ ผลไม้สีเหลือง
ไอโอดีน
(I)
- ช่วยให้การผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์เป็นไปตามปกติ
- ช่วยในการเจริญเติบโตและป้องกันโรคคอพอก ถ้าขาดจะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต พัฒนาการทางสมองต่ำคอพอก เรียกว่า โรคเอ๋อ
อาหารทะเลทุกชนิดเกลือสมุทร
แร่ธาตุ
ความสำคัญ
แหล่งอาหาร
แมกนีเซียม
(Mg)
- ช่วยเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์บางชนิด
- ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท
- ถ้าขาดจะอ่อนเพลีย ชักกระตุก ความดันโลหิตสูง
เนื้อวัว นม ถั่ว ผักต่าง ๆ
โซเดียว
(Na)
- ช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์ให้คงที่
- ช่วยในการส่งผ่านกระแสประสาท
- ถ้าขาดจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเป็นตะคริว
เกลือแกง นม เนย ไข่
สังกะสี
(Zn)
- เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนอินซูลิน
- เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิด
- ถ้าขาดจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่
- เกิดดอกเล็บ (เกิดจุดหรือลายสีขาวบนเล็บ)
เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ หอย
กำมะถัน (S)
- ช่วยสร้างโปรตีนในร่างกาย
เนื้อสัตว์ นม ไข่

แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมาก คือ แคลเซียมและฟอสฟอรัส เนื่องจาก เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อส่วนแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่ ไอโอดีน โซเดียม สังกะสี แมกนีเซียม และกำมะถัน ร่างกายจำเป็นที่ต้องได้รับแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะแข็งแรง และมีสุขภาพดี
2.3 น้ำ (Water)
น้ำเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต มีหลายคนที่คิดว่าน้ำไม่ใช่สารอาหารแต่ความจริงแล้วน้ำจัดเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งในสารอาหาร 6 ชนิด น้ำเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ในร่างกายจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 50 –70 ของน้ำหนักตัว โดยทั่วไปเพศชายจะมีน้ำในร่างกายมากกว่าเพศหญิง แต่เพศชายจะมีไขมันน้อยกว่าเพศหญิง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เพศชายมีน้ำในร่างกายมากกว่าหญิง น้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายและลำเลียงสารอาหารที่ย่อยแล้วและออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทางระบบการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยนำของเสียออกจากร่างการทางเหงื่อ และปัสสาวะ เราควรดื่มน้ำทุกวัน วันละ 6 – 8 แก้ว

การหาค่าพลังงานในอาหาร
การดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ในชีวิตประจำวันต้องใช้พลังงานจากอาหาร ซึ่งอาหารแต่ละชนิดจะมีพลังงานสะสมอยู่ในรูปของพลังงานเคมี เราสามารถหาค่าของพลังงานจากอาหารแต่ละชนิดได้ โดยวัดค่าพลังงานความร้อนที่มีอยู่ในอาหารด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “บอมบ์แคลอริมิเตอร์”

หน่วยของพลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนมีหน่วยเป็นจูล (J) หรือกิโลจูล (KJ)
ในอาหารนิยมวัดค่าของพลังงานความร้อนเป็นแคลอรี (cal) หรือกิโลแคลอรี (kcal) ในการคำนวณหาพลังงานความร้อนจากอาหารจะคำนวณจากพลังงานความร้อนของอาหารที่ให้กับน้ำ

การเปลี่ยนหน่วยพลังงานความร้อน
ปริมาณความร้อน 1 แคลอรี = 4.2 จูล


ความหมายของปริมาณความร้อน 1 แคลอรี
ปริมาณความร้อน 1 แคลอรี หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 °C

สูตรในการคำนวณหาค่าพลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ คือ

พลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ = mc∆t

Q = mc∆t หรือ


เมื่อ Q = พลังงานความร้อนที่น้ำได้รับ มีหน่วยเป็นแคลอรี
m = มวลของน้ำ มีหน่วยเป็นกรัม
c = ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ = 1 cal/g °C
Δt = อุณหภูมิของน้ำมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส
ตัวอย่าง ถ้าต้มน้ำ 100 กรับ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้มีอุณหภูมิเป็น 50 องศาเซลเซียส น้ำจะได้รับพลังงานความร้อนเท่าไร

วิธีทำ จากสูตร Q = mcΔt
= 100 X 1 X (50 – 30)
= 100 X 1 X 20
= 2,000 แคลอรี
\ น้ำได้รับพลังงานความร้อน 2,000 แคลอรี

ถ้าต้องการทราบค่าพลังงานในอาหาร ทำได้โดยการเผาอาหารเพื่อเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีที่สะสมไว้ในอาหารให้เป็นพลังงานความร้อน แล้วนำพลังงานความร้อนที่ได้ไปต้มน้ำ วัดอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถคำนวณค่าพลังงานความร้อนของอาหารที่ให้กับน้ำได้

ใยอาหารจัดเป็นสารประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตที่เป็นเซลลูโลส เพกทิน ยางไม้ และเมือก รวมทั้งพวกที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตคือลิกนินปนอยู่ด้วย เซซูโลสและลิกนินเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างหลักของพืช เช่น สำลีเป็นเซลลูโลส รำข้าวเป็นกึ่งเซลลูโลส ผักบร็อคโคลี่ซึ่งมีลักษณะคล้ายผักคะน้า จะมีลิกนินเป็นส่วนประกอบซึ่งเซลลูโลสและลิกนินไม่ละลายน้ำ ส่วนเพกทินและเมือกละลายน้ำได้ ใยอาหารไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้เล็ก แต่ก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
1. ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ โดยสามารถดูดซัพน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระนิ่มและขับถ่ายได้สะดวกไม่เกิดอาการท้องผูก
2. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคริดสีดวงทวาร หลอดเลือดขอด โรคเบาหวาน โรคนิ่วในถึงน้ำดี และไส้ติ่งอักเสบ
3. การประยุกต์ใช้ใยอาหารเป็นเป็นสารลดน้ำหนัก เนื่องจากใยอาหารดูดซัพน้ำได้ดี จึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และการรับประทานใยอาหารต้องใช้เวลาเคี้ยวนาน ทำให้รับประทานได้น้อย
ใยอาหารนี้ถ้ารับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ และใยอาหารจะไม่สามารถดูดซึมแรธาตุบางชนิดไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแร่ธาตุ
อาหารที่มีใยอาหารมาก ได้แก่ ลูกพรุน ส้ม (โดยเฉพาะส่วนที่เป็นกาก) แครอท ยอดสะเดา ดอกแค ยอดแค กล้วยน้ำว้า แอปเปิ้ลแดง สะตอ ฝรั่งพันธุ์สาลี่

คุณค่าและความสำคัญของอาหารที่มีต่อร่างกาย
ในแต่ละวันร่างกายต้องใช้พลังงานเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งร่างกายจะมีพลังงานได้ก็ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารต่าง ๆ ที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ส่วนวิตามินและแร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่ก็จำเป็นและขาดไม่ได้ การที่จะให้ร่างกายมีสุขภาพดี ปราศจากโรค มีอายุยืนยาว ควรรับประทานให้พอดี แต่มีสารอาหารเพียงพอที่จะให้พลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ในแต่ละวัน
จากที่ทราบมาแล้วว่าอาหารแต่ละประเภทจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน ดังนั้นการรับประทานอาหารในแต่ละวันจึงต้องคำนึงถึงพลังงานที่ใช้และพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารอย่างสมดุล

การรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
การรับประทานอาหารให้ถูต้องตามหลักโภชนาการ หมายถึง การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ ได้สารอาหารครบถูกสัดส่วน เพียงพอกับปริมาณที่ร่างกายต้องการ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานเป็นไปตามปกติ มีความต้านทานโรค และให้พลังงานเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จึงต้องมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
5.1 ปริมาณพลังงานและชนิดของสารอาหารที่ร่างกายต้องการจำแนกตามเพศและอายุ
ร่างกายของคนเราแต่ละเพศแต่ละวัยต้องการพลังงานและสารอาหาร แต่ละชนิดในการดำรงชีวิตแต่ละวันเท่ากันหรือไม่ อย่างไรนั้น ให้นักเรียนศึกษาได้จากการทำกิจกรรม 2.9
ให้นักเรียนศึกษาตารางต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามให้ถูกต้องสมบูรณ์
ตารางแสดงปริมาณพลังงานและสารอาหารบางอย่างที่คนไทยวัยต่าง ๆ ต้องการในหนึ่งวัน
ประเภท
อายุ(ปี)
น้ำหนัก
(Kg)
พลังงาน
(kcal)
โปรตีน
(g)
แร่ธาตุ (mg)
วิตามิน (mg)
แคลเซียม
เหล็ก
A
B1
B2
C
เด็ก



เด็กชาย


เด็กหญิง


ชาย
7 – 9
10-12

13-15
16-19

13-15
16-19

20-29
30-39
40-49
50-59
60-69
70 +
20
25

36
50

38
46

54





1900
2300

2800
3300

2355
2200

2550
2450
2350
2200
2000
175
24
32

40
45

38
38

54
54
54
54
54
54
50
60

70
60

60
50

50
50
50
50
50
50
4
8

11
11

16
16

6
6
6
6
6
6
1.4
1.9

2.4
2.5

2.4
2.5

2.5
2.5
2.5
2.5
2.5
2.5
0.8
0.9

1.1
1.3

0.9
0.9

1.0
1.0
0.9
0.9
0.8
0.7
1.0
1.3

1.5
1.8

1.3
1.2

1.4
1.4
1.3
1.2
1.1
1.0
20
30

30
30

30
30

30
30
30
30
30
30
ประเภท
อายุ(ปี)
น้ำหนัก
(Kg)
พลังงาน
(kcal)
โปรตีน
(g)
แร่ธาตุ (mg)
วิตามิน (mg)
แคลเซียม
เหล็ก
A
B1
B2
C
หญิง






หญิงมีครรภ์
หญิงให้นมบุตร
30-29
30-39
40-49
50-59
60-69
70 +

47
1800
1700
1650
1550
1450
1250
+ 200
+1000
47
47
47
47
47
47
+ 20
+ 40
40
40
40
40
40
40
100
120
16
16
16
6
6
6
26
26
1.5
2.5
2.5
2.5
2.5
2.5
2.5
4.0
0.7
0.7
0.7
0.6
0.6
0.5
0.8
1.1
1.0
0.9
0.9
0.8
0.8
0.7
1.1
1.5
30
30
30
30
30
30
50
50
สาธารณสุข,กระทรวง,กรมอนามัย,กองโภชนาการ,ตารางสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับประชาชนไทย

จากการทำกิจกรรม จะพบว่าปริมาณพลังงานและสารอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นจะแตกต่างกันตามเพศ อายุ และสภาพของร่างกายว่าอยู่ในภาวะใด ดังนี้
1. เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุเท่ากัน เพศชายมีความต้องการพลังงานและสารอาหารมากกว่าเพศหญิง
2. เด็กมีความต้องการพลังงานและโปรตีนมากกว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว เนื่องจากเด็กกำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต และทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
3. หญิงที่อยู่ในภาวะมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มขึ้นทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เนื่องจากสารอาหารส่วนหนึ่งจะต้องถูกนำไปใช้ในการเลี้ยงทารกในครรภ์หรือไปผลิตน้ำนม โดยเฉพาะธาตุแคลเซียมต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 3 เท่า เพื่อให้ทารกในครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตรรับประทานอาหารที่ให้ธาตุแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมจากมารดาไปให้ทารก มีผลทำให้มารดาฟันผุได้ ดังนั้นหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรจึงควรรับประทานแคลเซียมเสริมจากภาวะปกติ หรือดื่มนมและรับประทานปลาตัวเล็ก ๆ ที่รับประทานทั้งกระดูกได้ เพื่อให้ได้ธาตุแคลเซียมที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

5.2 ประมาณพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
อาหารที่เรารับประทานเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญของร่างกายที่ร่างกายใช้ในการทำกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ แม้ในเวลานอนหลับ ซึ่งความต้องการใช้พลังงานเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเพศชายและเพศหญิงมีปริมาณเท่ากันหรือไม่ และกิจกรรมต่างชนิดกันจะใช้พลังงานเท่ากันหรือไม่อย่างไร ศึกษาได้จากตารางข้อมูลทางขวามือ


ตารางแสดงค่าพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม
กิจกรรม
พลังงานที่ใช้ (kcal)
ชาย
หญิง
ขับรถ
ล้างจาน ปัดฝุ่น
ว่ายน้ำ
นั่งพัก อ่านหนังสือ
นั่งเขียนหนังสือ
2.42
2.84
4.73
1.26
1.47
2.23
2.62
4.37
1.16
1.38

จากข้อมูลในตามรางพบว่า การทำกิจกรรมต่างกันจะใช้พลังงานต่างกัน โดยกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือมีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะใช้พลังงานมากกว่าการนั่งอยู่กับที่ และการทำกิจกรรมชนิดเดียวกันเพศชายจะใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิง
การคำนวณค่าพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับค่าพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ระยะเวลาที่ทำงาน และเพศ

5.3 ความรู้เกี่ยวกับประเภทของอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารประเภทต่าง ๆ
จากที่ทราบความสำคัญและตระหนักถึงความต้องการสารอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันแล้ว นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์และเกิดคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกรับประทานได้โดยใช้ข้อมูลจากตาราง















5.4 สัดส่วนของปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
สัดส่วนของปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการที่กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ในรูปของธงโภชนาการ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบริโภคอาหารที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และตรงตามข้อปฏิบัติในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพหรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ สำหรับประชาชนนำไปใช้ประกอบอาหารบริโภคใน 1 วัน นักเรียนจะได้ศึกษาสัดส่วนของอาหารจากรูปธงโภชนาการต่อไปนี้


ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ 2542

5.5 ปริมาณอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับวัยและการทำงาน
ปริมาณอาหารจำแนกตามหมู่อาหารที่เหมาะสมที่คนไทยควรภายใน 1 วัน สำหรับเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ใช้พลังงาน มีปริมาณที่ต่างกันตามปริมาณพลังงานที่ใช้ ดังตารางต่อไปนี้





ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542

จากข้อมูลในตารางจะพบว่ามีความสอดคล้องกับกิจกรรม 2.9 ที่นักเรียนได้ทำไปแล้วดังนี้
1. เด็กวัยรุ่นซึ่งอยู่ในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และทำกิจกรรมมากว่าเด็กวัย 6 – 13 ปี จึงต้องการอาหารและพลังมากกว่า และต้องการอาหารและพลังงานเท่ากับชายวัยทำงานอายุ 25-60 ปี
2. เพศชายและเพศหญิงวัยทำงานที่มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกัน เพศชายจะต้องการอาหารและพลังงานมากกว่า
3. ผู้สูงอายุ ร่างกายได้หยุดเจริญเติบโตแล้ว ผู้สูงอายุต้องการอาหารเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอในการทำกิจกรรมเท่านั้น จึงต้องการอาหารเท่ากับเด็กอายุ 6 –13 ปี
4. ผู้ที่ใช้แรงงานมากต้องการอาหารเพื่อให้ได้พลังงานมากกว่าผู้ที่ใช้แรงงานน้อยกว่า

จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของสารอาหาร ประโยชน์ แหล่งของอาหารที่ให้สารอาหารประเภทต่าง ๆ ตลอดจนการทราบค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน และการคำนวณหาปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้นักเรียนสามารถนำไปใช้จัดรายการอาหารที่รับประทานให้มีคุณภาพและปริมาณตามที่ร่างกายต้องการได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ นอกจากนี้กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ให้ข้อปฏิบัติในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 9 ข้อ หรือที่เรียกว่า โภชนาบัญญัติ 9 ประการ ที่คนไทยควรปฏิบัติ ดังนี้
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3. รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
8. รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

อาหารเสริม
ตามความหมายขององค์การอาหารและยา อาหารเสริม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ รับประทานเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่พบในรูปของแคปซูล เม็ด เกล็ด ผง หรืออยู่ในรูปของเหลว เช่น สาหร่ายอัดแคปซูล ใยอาหารผงสำหรับชงดื่ม น้ำมันปลาแคปซูล วิตามินอีแคปซูล ถ้ารับประทานอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมอีก

อาหารขยะ
เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย และมีสารปรุงแต่งมาก

เมื่อนักเรียนได้ศึกษาเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการแล้ว ก็ควรจะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติตามด้วย เพื่อให้คนไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยที่ดี

6. ทุพโภชนาการ (Mainutrition)
ทุพโภชนาการ คือ ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือเกินความต้องการของร่างกาย รวมทั้งการที่ร่างกายไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้ ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดหรือการขาดความรู้ด้านโภชนาการ ทุพโภชนาการนี้ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
6.1 โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
คนไทยส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันอย่างเพียงพอ แต่มักจะขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ผู้ที่ขาดสารอาหารเหล่านี้จะเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
1. การขาดโปรตีน ในวัยเด็กเรียกว่า “โรคตานขโมย” โปรตีนเป็นสารอาหารที่ช่วยสร้างความเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกัน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

อาการที่เป็นโรคขาดโปรตีนได้แก่
- ร่ายกายอ่อนแอ เจริญเติบโตช้า
- บางรายผอม ผิวหยาบกร้าน หัวโต
- ภูมิต้านทานต่ำ ติดโรคได้ง่าย
- พัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำ
กลุ่มที่พบ
อาการขาดโปรตีนมักพบในกลุ่มวันทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น

2. การขาดวิตามิน วิตามินเป็นสารอาหารที่คนไทยส่วนใหญ่มักขาดเพราะขาดภาวะโภชนาการที่ดี

อาการที่เกิดจากการขาดวิตามินชนิดต่าง ๆ ได้แก่
ขาดวิตามิน A ทำให้ตาฟาง ตาดำอักเสบถึงขึ้นตาบอดได้
ขาดวิตามิน B1 ทำให้เป็นโรคเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้าเบื่ออาหาร
ขาดวิตามิน B2 ทำให้เป็นโรคปากนกกระจอก ผิวหนังแห้งและแตก ลิ้นอักเสบ
ขาดวิตามิน C ทำให้เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม ฟันโยก ที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด
ขาดวิตามิน D ทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน สังเกตได้จากอาการขาโก่ง (มักจะไม่ค่อยพบคนไทย)
ขาดวิตามิน K ทำให้เลือดแข็งตัวช้า
· วิตามินที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ มีดังนี้
1. วิตามิน D โดยรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะเปลี่ยนสารที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามิน D
2. วิตามิน B12 สังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในลำใส้ใหญ่
3. การขาดแร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำหน้าที่เป็นไปตามปกติ
อาการที่เกิดจากการขาดแร่ธาตุบางชนิด มีดังนี้
ขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส เป็นโรคกระดูกอ่อน ผันผุง่าย กระดูกพรุน
ขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคโลหิตจาก (เม็ดเลือดแดงน้อย)
ขาดธาตุไอโอดีน เป็นโรคคอพอก สติปัญญาเสื่อม
ขาดธาตุโซเดียม ทำให้เบื่ออาหาร เป็นตะคริว เซื่องซึม ชัก
ขาดธาตุแมกนีเซียม กล้ามเนื้อกระตุก
สารอาหารบางชนิดถ้ารับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคได้ เช่น ไขมัน ถ้ารับประทานมากเกินไป จะทำให้อ้วน เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคความดันโลหิตสูง และอาจเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ง่ายกว่าปกติ

6.2 โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไดรับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป
การรับประทานอาหารที่ได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
1. โรคอ้วน เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันและน้ำตาล และการรับประทานเนื้อสัตว์ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ เพราะในเนื้อสัตว์จะมีไขมันแทรกอยู่
2. โรคคอเลสเทอรอลหรือไขมันอุดตันในหลอดเลือด เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันสัตว์ ซึ่งมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวมาก จะไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
3. โรคเบาหวาน เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลมากเกินไป และการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายผิดปกติ คือ มีฮอร์โมนอินซูลินที่จะควบคุมปริมาณน้ำตาลน้อยเกินไป ทำให้มีน้ำตาลกลูโคสปนมากับปัสสาวะ
4. โรคเก๊าหรือโรคที่ปวดตามข้อและกระดูก เกิดจากการรับประทานโปรตีนประเภทสัตว์ปีกและเครื่องในสัตว์มากเกินไป

จากการศึกษารายละเอียดจะพบว่าการขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง จะมีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคต่าง ๆ ได้ และถ้ายิ่งขาดสารอาหารหลาย ๆ ประเภท ก็จะยิ่งทำให้เป็นโรคมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกประเภทและตามสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อที่ทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคต่าง ๆ

7. สิ่งปนเปื้อนในอาหาร
อาหารที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ มีหลายชนิดที่มีสิ่งเป็นพิษเจอปนอยู่ เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปจะเกิดการเจ็บป่วยได้ สารพิษที่ปะปนอยู่ในสารอาหารสามารถจัดจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งปนเปื้อนในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งปนเปื้อนในอาหารที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
7.1 สิ่งปนเปื้อนในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. จุลินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในอาหาร เช่น ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอหิวาตกโรค ท้องเสีย และอาหารบูดเสีย เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ จำทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นโรคต่าง ๆ ได้
2. พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งตัวอ่อนจะติดอยู่ที่เนื้อปลาดิบ เช่น ก้อยปลา ปลาร้า เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว พยาธิจะไปเจริญเติบโต ทำให้เกิดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยร่างกายซูบผอม ตับโตแข็ง และตายในที่สุด
3. สิ่งเป็นพิษที่อยู่ในพืชและสัตว์บางชนิด เช่น เห็ดพิษบางชนิด เม็ดมะกล่ำตาหนู ผักขี้หนอนแมงดาทะเล ปลาปักเป้า เมื่อรับประทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกัน ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่สุกและร้อนอยู่ หรืออาหารสุกที่อยู่ในภาชนะที่สะอาดปิดมิดชิด ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และอาหารที่สงสัยว่าจะเสียหรือขึ้นรา ไม่รับประทานอาหารในกระป๋องที่มีลักษณะผิดปกติ เช่นมีสนิม บวม ควรเลือกซื้ออาหารที่มีกำหนดอายุของอาหารไว้ข้างภาชนะ และไม่ควรบริโภคอาหารที่เลยวันครบกำหนดอายุ นอกจากนี้พืช เห็ด และสัตว์ที่ไม่รู้จักก็ไม่ควรนำมาประกอบอาหาร
1. สิ่งเป็นพิษที่เจือปนในอาหารโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ ปัจจุบันโลกเรามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้มีอาหารพอเพียงสำหรับประชาชรที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนพืช อาหารสัตว์ ยารักษาโรคในสัตว์ สารเคมีเหล่านี้ถ้าผู้ใช้ไม่ศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้องทั้งชนิดและปริมาณ จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งมีโอกาสแพร่มาสู่ผู้บริโภคได้
2. สิ่งเป็นพิษที่เจอปนในอาหารโดยความตั้งใจของมนุษย์ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1 สารกันอาหารเสีย เพื่อยืดอายุของอาหารไม่ให้บูดเสียเร็ว กระทรวงสารณสุขได้ประกาศให้ใช้วัตถุกันเสียในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนี้
1. กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต ใช้กับอาหารทุกชนิดไม่เกิน 1,000 mg/อาหาร 1 kg
2. ในเตรดและไนไตรด์ ใช้กับอาหารเนื้อทุกชนิด ไนเตรตไม่เกิด 500 mg/เนื้อ 1 kg
3. กรดซอร์บิกและเกลือซอร์เบต ใช้กับอาหารทุกชนิด ยกเว้นเนื้อ ไม่เกิน 2,000 mg/อาหาร 1 kg
4. กรดซัลฟิวรัสและเกลือซัลไฟต์ ใช้กับผักและผลไม้แห้ง ใช้ไม่เกิน 2,500 mg/อาหาร 1 kg
5. กรดโปรปิโอนิคและเกลือโปรปิโอเนต ใช้กับเนยแข็งไม่เกิน 3,000 mg/อาหาร 1 kg
2.2 สารแต่งกลิ่นหรือรสช่วยปรุงแต่งอาหารให้น่ารับประทาน มีรสและกลิ่นถูกใจผู้บริโภค เช่น เครื่องเทศต่าง ๆ สารกลิ่นผลไม้ต่าง ๆ น้ำตาลเทียม แต่มีผู้ผลิตอาหารที่เห็นแก่ตัวบางรายได้ใช้สารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่น หรือรสในอาหาร เช่น ผงกรอบ ผงเนื้อนุ่ม ซึ่งผงกรอบคือพอแรกซ์ ส่วนผงเนื้อนุ่มคือ บอแรกซ์ผสมกับโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซึ่งผงบอแรกซ์นี้จะทำให้เกิดพิษได้ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยมีพิษต่อระบบประสาท ตับ ไต และผิวหนัง
2.3 สีผลมอาหาร สีผสมอาหารจะช่วยแต่งเติมให้อาหารมีสีสันน่ารับประทาน แต่มีผู้ที่ไม่มีความรู้หรือความเห็นแก่ตัวของผู้ผลิตอาหารได้ใช้สีย้อมผ้าซึ่งมีราคาถูกมาผสมอาหาร ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากโลหะหนักที่ผสมอยู่ในสี เช่น ตะกั่ว โครเมียม ปรอท สารหนู และแคดเมียม อาการที่เกิดจากพิษของโลหะหนัก คือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การเต้นของชีพจรและการหายใจอ่อนลง มีอาการทางประสาท อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด
โดยสรุปสารพิษที่เจือปนในอาหารเพื่อการผลิตและจำหน่ายทั้ง 3 ประเภทที่พบในชีวิตประจำวัน มีดังนี้
ชนิดของสารปนเปื้อน
ชนิดของอาหารที่พบ
น้ำตาลเทียม
บอแรคซ์หรือผงกรอบ

ดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรต)
สีผสมอาหาร

ผักและผลไม้ดอง ไอศกรีม ขนมหวาน น้ำปลา น้ำตาลสด
ทับทิมกรอบ เนื้อหมู ไส้กรอก มะม่วงดอง หมูยอ หัวผักกาดดอง ลูกชิ้น ทอดมัน กล้วยแขก สาคู แหนม
ไส้กรอก เนื้อเค็ม กุนเชียง กุ้งแห้ง แฮม เบคอน ปลาเค็ม
ไส้กรอก บะหมี่ กุ้งแห้ง กะปิ ปลาแห้ง ข้าวเกรียบ ลูกกวาด ผลไม้ดอง ขนมผิง ขนมชั้น

นอกจากนี้ยังมีการทำผงชูรสปลอมและน้ำส้มสายชูปลอม ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพของชีวิตของผู้บริโภค
เนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติมโตของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นแหล่งพลังงานและให้อวัยวะของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ การรับประทานอาหารจึงควรปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบทุกชนิด ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนและสารปรุงแต่งต่าง ๆ

หลักการคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการประมวลผลอิเลคโทรนิค

หลักการคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการประมวลผลอิเลคโทรนิค
อ. จิดาภัส สัมพันธ์สมโภช
อ. ชัยยงค์ อู่ประสิทธิวงศ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดแบ่งคอมพิวเตอร์ตามความสามารถในการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเป็น สถานีงานวิศวกรรม (Engineering Workstation) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ไดรับการออกแบบมาให้ทำงานด้านวิศวกรรม หรืองานคำนวณที่ต้องการความเร็วสูงมาก คำว่า “สถานีงาน” มีความหมายว่า เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบพร้อมให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานต่าง ๆ ได้ครบโดยไม่ต้องไปใช้อุปกรณ์ในห้องอื่น ๆ สถานีงานที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ เครื่อง Sun ของบริษัท Sun Micro systems เครื่อง SGI ของบริษัท Silicon Graphics เครื่อง RISC/6000 บางรุ่นของบริษัท IBM เครื่องประเภทสถานีงานเคยได้รับความนิยมมากเมื่อหลายปีก่อน ในช่วงที่มีมินิคอมพิวเตอร์ยังมีราคาแพงเกินไป ส่วนไมโครคอมพิวเตอร์ก็มีสมรรถนะต่ำเกินไป ปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สามารพัฒนาเครื่องให้มีสมรรถนะมากขึ้นจนเท่าเทียมกับสถานีงาน ดังนั้นผู้ผลิตจึงเริ่มเปลี่ยนไปผลิตเครื่องสถานีงานที่มีสมรรถนะมากขึ้นไปแทน

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบพื้นฐานที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงอุปกรณ์ด้านตัวเครื่องต่าง ๆ เช่น จอภาพ (Monitor) หน่วยประมวลผล (CPU) แป้นพิมพ์ (Keyboard) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
โดยทั่วไปส่วนประกอบด้านฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
2.1 หน่วยความจำหลัก (Main Processing Unit)
2.2 หน่วยควบคุม (Control Memory Unit)
2.3 หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit)
3. หน่วยความจำสำรอง (Auxiliary or secondary Storage Unit)
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)


รูปที่ 3.4 ส่วนประกอบด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากสื่อนำเข้า (Input Media) แล้วส่งไปหน่วยความจำหลัก (Main Memory) ซึ่งอยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์ที่ใช้เป็นหน่วยรับข้อมูล ตัวอย่างเช่น
1. แป้นพิมพ์ (Keyboard)
2. เม้าส์ (Mouse)
3. ปากกาแสง (Light Pen)
4. เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Reader)
5. เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
6. เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
7. เครื่องอ่านเอ็มไอซีอาร์ (MICR : Magnetic Ink Character Reader)
8. เครื่องโอซีอาร์ (OCR : Optical Character Reader)

แป้นพิมพ์ (Keyboard)
ใช้สำหรับป้อนข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์จะถูกจัดเป็น 3 กลุ่ม ตรงกลางมีลักษณะเหมือนแป้นพิมพ์ดีดธรรมดา (Typewriter Keyboard) ทางขวาเป็นตัวเลขและลูกศรขึ้นลงซ้ายขวา (Number Keypad & Arrow Keys) ส่วนบนหรือทางซ้ายจะเป็นฟังก์ชั่นคีย์ (Function Keys) ซึ่งปฏิบัติการของฟังก์ชันคีย์สามารถโปรแกรมได้


รูปที่ 3.5 แป้นพิมพ์

เม้าส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเลื่อนไปมาเพื่อเลือกคำสั่งต่าง ๆ ที่เห็นอยู่ทางจอภาพ เมื่อนำเม้าส์ต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเรียกโปรแกรมเซ็ทเม้าส์ เพื่อให้สามารถใช้เม้าส์กับระบบคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้ เช่น ๆ Microsoft Mouse, PS/2 Mouse ปัจจุบันใช้เม้าส์ร่วมกับแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่ติดต่อกับผู้ใช้ในแบบกราฟิคบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ กันมาก ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Windows, OS/2 หรือแมคอินทอชเพราะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น ไม่ต้องจดจำคำสั่ง









รูปที่ 3.6 อุปกรณ์เม้าส์

ปากกาแสง (Light Pen)
ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางหน้าจอ โดยการชี้ไปยังเมนูที่ต้องการหรือลากไปบนจอภาพ นำไป ใช้กับงานด้านกราฟิก













รูปที่ 3.7 อุปกรณ์ปากกาแสง

เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Reader)
เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อ่านรหัสแท่งที่ติดบนสลากสินค้า บนบัตรประตัวพนักงาน หรือพัสดุอื่น ๆ เครื่องอ่านรหัสแท่งหลายลักษณะ เช่น ที่ใช้ตามห้างสรรพสินค้า อาจเป็นโต๊ะที่ผิวหน้าเป็นกระจกและมีแสงส่องขึ้นมาจากข้างใน หรือเป็นเครื่องอ่านลักษณะคล้ายปืนสำหรับส่องรหัส หรืออาจเป็นกล่องเล็ก ๆ และมีร่องสำหรับใช้รูดลบัตรที่ติดรหัสแท่งก็ได้








รูปที่ 3.8 เครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ

เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลที่เป็นภาพเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ภาพที่อ่านได้เรียกว่า ภาพลักษณ์ (Image) ซึ่งคอมพิวเตอร์จะเห็นเหมือนกับเป็นจุดสีขาวดำ (หรือจุดสีต่าง ๆ) ไม่ได้เห็นเป็นตัวอักษร หากต้องการให้คอมพิวเตอร์รู้ตัวอักษรที่อ่านต้องมีโปรแกรมสำหรับแปลงภาพลักษณ์นั้นเป็นตัวอักษรอีกทีหนึ่ง โปรแกรมนี้เรียกว่าโปรแกรมรับรู้อักขระด้วยแสง

เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อ่านพิกัดของแผนที่ รูปร่างเหมือนแผ่นกระดานสี่เหลี่ยมสำหรับใช้ตรึงแผนที่ แล้วมีอุปกรณ์ลักษณะเหมือนแว่นขยายพร้อมปุ่มกด สำหรับเลื่อนไปวางบนตำแหน่งที่ต้องการอ่านพิกัดแล้วกดปุ่ม เครื่องจะอ่านพิกัด หรือตำแหน่งของจุดนั้นได้โดยอัตโนมัติ






รูปที่ 3.9 เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)

เครื่องอ่านเอ็มไอซีอาร์ (MICR : Magnetic Ink Character Reader)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูล หรือตัวพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยสารแม่เหล็กชนิดพิเศษ นำมาใช้อ่านเช็คสำหรับงานการธนาคาร โดยอ่านหมายเลขเช็ค เลขที่บัญชี และจำนวนเงิน

เครื่องอ่านโอซีอาร์ (OCR : Optical Character Reader)
เป็นอุปกรณ์การอ่านข้อมูลโดยผ่านลำแสงบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านโอซีอาร์สามารถอ่านข้อมูลได้จาก
1. ลายมือเขียนที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข แต่ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ กรณีตัวอักษรที่เขียนไม่ชัดเจน หรือตัวอักษรที่เขียนออกมาแล้วมีลักษณะคล้ายกันมาก เช่น 1 กับ 4
2. ตัวพิมพ์มาตรฐานกำหนดโดย American National Standard Institute (ANSI)
3. รูปแบบ Mark Sense คืออ่านจากเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น Slash (/) บน Mark Sense Form นำมาใช้ในงานตรวจกระดาษคำตอบแบบปรนัย โดยกระดาษคาตอบจะถูกออกแบบโดยเฉพาะ เครื่องอ่านโอซีอาร์แบบนี้ถูกนำมาดัดแปลง และเรียกอีกชื่อว่า โอเอ็มอาร์ (OMR : Optical Mark Reader)

































รูปที่ 3.11 ตัวอย่าง Mark Sense Form
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit หรือ CPU)
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
2.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
ทำหน้าที่จำข้อมูลต่าง ๆ และรับผลลัพธ์จากการคำนวณในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบมาเก็บไว้ หน่วยความจุข้อมูลเทียบได้ดังนี้ 1 KByte = 1024 Bytes, 1 Byte = 1 Character (หรือ = 1 ตัวอักษร) จากเทคโนโลยีในการพัฒนาหน่วยความจำหลัก เราสามารถจำแนกชนิดของหน่วยความจำหลักได้ดังนี้
1. ROM (Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์เก็บคำสั่งต่าง ๆ ที่ติดมากับเครื่องตอนเราซื้อ ข้อมูลที่บรรจุใน ROM ส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง (Operating System) ทั้งนี้เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้อ่านข้อมูลหรือเรียกใช้งานจาก ROM ได้อย่างเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ใน ROM ได้
การบรรจุคำสั่งหรือข้อมูลลงบนชิพ (Chip) หรืออุปกรณ์ในหน่วยความจำนี้ เรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า Firmware
2. RAM (Random Access Memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือข้อมูลตามชนิดของงานที่ต้องการ ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลบน RAM ได้
3. PROM (Programmable Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้มีการเก็บข้อมูลไว้ ผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการของตนเอง เมื่อบันทึกข้อมูลเข้าไปแล้วผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลหรือเรียกใช้งานได้อย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ได้
4. EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำที่ผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการหรือบันทึกลงไปใหม่ได้ และสามารถลบข้อมูลได้โดยวิธีนำไปผ่านแสงอุลตราไวโอเลต

2.2 หน่วยควบคุม (Control Unit)
มีหน้าที่หลัก ดังนี้
1. ควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลลัพธ์ (I/O Control) โดยทำหน้าที่ดังนี้
1.1 ทำการอ่านคำสั่ง (Read Instruction)
1.2 ทำการแปลความหมาย (Decode) พร้อมหาวงจรที่จะใช้ในการทำงาน
1.3 สั่งให้วงจรทำงาน (Execute)
1.4 ควบคุมให้ส่งข้อมูลไปเก็บในหน่วยความจำ (Stored)
2. ควบคุมการทำงานของวงจรอื่นที่เกี่ยวข้องทุกวงจร รวมทั้งวงจรในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นผลมาจากการรับข้อมูลในข้อ 1.
3. ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับโปรแกรมควบคุมระบบ(System Software)
4. ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับการถูกขัดจังหวะต่าง ๆ ของเครื่อง (Machine Interruption)

2.3 หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจำมาทำการคำนวณ ( + - x / ) หรือทำการเปรียบเทียบ (AND OR NOT) และนำผลที่ได้จากการคำนวณไปเก็บไว้ชั่วคราวที่รีจีสเตอร์ (Register)
รีจีสเตอร์ (Register) เป็นเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือเปรียบเทียบเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะถูกนำไปใช้งานต่อไป

3. หน่วยความจำสำรอง (Auxiliary or Secondary Storage Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยความจำหลัก การเรียนข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง ทำได้ช้ากว่าจากหน่วยความจำหลัก เพราะติดตั้งอยู่นอก CPU เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสายไฟ หน่วยความจำสำรองมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก สามารถขยายเพิ่มได้ตามต้องการ ตัวอย่างอุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง เช่น
1. จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
2. เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
3. แผ่นดิสเก็ท (Diskette)
4. แผ่น CD-ROM
5. ไมโครฟิล์ม (Microfilm)

จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
เป็นทั้งสื่อนำข้อมูลเข้าและสื่อนำผลลัพธ์ออก (Input / Output Media) มีความเร็วสูงสุดในการอ่านและบันทึกข้อมูล ปกติจานแม่เหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว เป็นแผ่นกลมบางเคลือบด้วยสารแม่เหล็กทั้ง 2 หน้า ชุดจานแม่เหล็ก (Disk Pack) ชุดหนึ่ง จะมีจานแม่เหล็ก 6-11 แผ่น วางซ้อนกัน โดยยึดติดกับแกนตรงกลาง แต่ละแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 หน้า ยกเว้นหน้าบนของแผ่นบนสุดกับหน้าล่างของแผ่นล่างสุด นั่นคือถ้าชุดจานแม่เหล็ก 11 แผ่น ก็จะใช้เก็บข้อมูลได้ 20 หน้า หรือชุดจานแม่เหล็ก 6 แผ่น ก็จะใช้เก็บข้อมูลได้ 10 หน้า จะมีหัวอ่านเขียน (Read / Write Head) ที่ติดอยู่ปลายแขนแท่งโลหะสำหรับทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูล
แต่ละหน้าของจานแม่เหล็กแบ่งเป็นวง ๆ เรียกว่า แทรค (Track) มีจำนวน 200 แทรค ต่อหน้าเริ่มจาก แทรคที่ 000 ถึง 199 ไม่ว่าแทรควงในสุดหรือวงนอกสุด จะสามารถเก็บข้อมูลได้กันทุกแทรค ในแต่ละแทรคที่ตรงกันของทุก ๆ หน้า เรียกว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder) เช่น แทรคที่ 199 จากแผ่นบนลงมาถึงแผ่นล่างในแนวตั้งรวมกันเรียก ไซลินเดอร์ และในแต่ละแทรคยังแบ่งเป็น เซคเตอร์ (Sector) ดังนั้นการระบุตำแหน่งข้อมูลในจานแม่เหล็ก จะระบุถึงหมายเลขหน้า หมายเลขแทรค และหมายเลขเซคเตอร์ จานแม่เหล็กแบ่งเป็นชนิดเคลื่อนย้ายได้กับชนิดเคลื่อนย้ายไม่ได้
จานแม่เหล็กสามารถประมวลผลได้เร็วมากและเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง จึงเหมาะกับงานที่ต้องการการตอบสนองได้ทันที หรือที่เรียกการประมวลผลแบบ Online Processing สามารถเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้านตัวอักษรต่อแผ่น มีราคาแพง







รูปที่ 3.12 จานแม่เหล็ก

เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
เป็นทั้งสื่อนำข้อมูลเข้าและสื่อนำผลลัพธ์ออก (Input / Output Media) สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก การทำงานของเทปแม่เหล็กเป็นแบบเรียงตามลำดับ (Sequential Processing) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะเริ่มอ่านข้อมูลจากเรคอร์ดแรกเรียงตามลำดับรายการไปเรื่อย ๆ และเหมาะกับงานประมวลผลแบบแบช (Batch Processing) แต่ไม่เหมาะกับงานประมวลแบบทันที (Online Processing) สมัยก่อนเทปแม่เหล็กมาตรฐานมีความกว้าง 0.5 นิ้ว ยาว 2,400 ฟุต เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว ทำด้วยพลาสติกเคลือบสารแม่เหล็ก แต่สมัยนี้เทปกลมถูกแทนที่ด้วยเทปตลับขนาดเล็กที่ใหญ่กว่าตลับเทปเพลงเพียงเล็กน้อย แต่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากหลายร้อยเมกะไบต์ ผู้ใช้สามารถนำเทปมาใช้ได้หลายครั้งโดยการบันทึกใหม่ทับลงไป












รูปที่ 3.13 เทปแม่เหล็ก

แผ่นดิสเก็ท (Diskette)
เป็นทั้งสื่อนำข้อมูลเข้าและสื่อนำผลลัพธ์ออก (Input / Output Media) ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยมี DOS คอยทำหน้าที่ในการจัดเก็บ แผ่นดิสเก็ทมีขนาด 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว ซึ่งมีความจุและชื่อในการเรียกต่างกันไป
ขนาด 5.25 นิ้ว
- Double Side, Double Density เรียก DS,DD มีความจุ 360 Kbytes
- Double Side, High Density เรียก DS,HD มีความจุ 1.2 Kbytes
ขนาด 3.5 นิ้ว
- Double Side, Double Density เรียก DS,DD มีความจุ 720 Kbytes
- Double Side, High Density เรียก DS,HD มีความจุ 1.44 Kbytes










รูปที่ 3.14 แผ่นดิสเก็ท


แผ่น CD-ROM
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเดิม หรือลบข้อมูลเดิมทิ้งได้ มีลักษณะเหมือน Compact Disk หรือแผ่น CD ของวงการเครื่องเสียง ส่วน ROM หมายถึง Read Only Memory คือ หน่วยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียว นั่นเอง มีความจุประมาณ 600 เมกะไบต์ มีประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น การนำบทความวิชาการมาบันทึกลงบนแผ่น CD-ROM บทความด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านวิศวกรรม ฯลฯ นอกจากประโยชน์ในการบันทึกข้อความแล้ว ยังสามารถบันทึกภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงไว้ด้วยกันได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสื่อหลายแบบ (Multimedia)










รูปที่ 3.15 แผ่น CD-ROM
ไมโครฟิล์ม (Microfilm)
ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลข่าวสารที่มีปริมาณมาก ๆ สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร และภาพ กค ช่วยลดเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล แทนที่จะเก็บเอกสารในรูปกระดาษจำนวนมาก ๆ ก็สามารถบันทึกลงบนฟิล์มแผ่นเล็ก ๆ แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะอุปกรณืการบันทึกข้อมูลลงไมโครฟิล์ม และอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลจากไมโครฟิล์มมีราคาสูงมาก
เนื่องจากหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่มีราคาแพง และหากเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ไว้ ในหน่วยความจำหลักจะทำให้การประมวลผลช้าลง ดังนั้นผู้ใช้จึงเก็บข้อมูลที่จำเป็นไว้ในหน่วยความจำหลัก และนำหน่วยความจำสำรองเข้ามาช่วยเสริมในการเก็บข้อมูล
















รูปที่ 3.16 ไมโครฟิล์ม

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่เสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
1. จอภาพซีอาร์ที (CRT)
2. เครื่องพิมพ์ (PRINTER)
3. พลอตเตอร์ (PLOTTER)

จอภาพซีอาร์ที (CRT : Cathod Ray Tube)
เป็นอุปกรณ์รับและแสดงผล (Input / Output Device) มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์ ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ด ใช้ปากกาแสง หรืออ่านข้อมูลผ่านเครื่องอ่านต่าง ๆ เมื่อประมวลผลข้อมูลเสร็จแล้ว ก็จะแสดงผลลัพธ์ทั้งที่เป็นตัวอักษร และกราฟิกออกทางจอภาพ






รูปที่ 3.17 จอภาพ

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) ใช้สำหรับพิมพ์รายงานออกทางกระดาษพิมพ์ธรรมดาและกระดาษต่อเนื่อง เทคโนโลยีการพิมพ์ในงานคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้ระบบหัวเข็มกลายมาเป็นระบบเลเซอร์ในที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องพิมพ์ชนิดกระทบ (Impact Printers)
2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non-Impact Printers)

1. เครื่องพิมพ์ชนิดกระทบ (Impact Printers)
คือเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้การกดแม่พิมพ์ตัวอักษรเข้ากับแถบผ้าหมึก ให้ปรากฏเป็นตัวอักษรบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
1.1 เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix Printer)
1.2 เครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ (Letter-quality Printer) หรือ เครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้หัวพิมพ์แบบมีแม่พิมพ์ (Form Character Printer)
1.3 เครื่องพิมพ์แบบดรัม (Drum Printer)
1.4 เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่ (Chain Printer)

1.1 เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ขนดเล็กที่พิมพ์ตัวอักษรทีละตัว โดยใช้เข็มแทงออกมาจากกลไกหัวพิมพ์ไปกระทบแถบผ้าหมึก แล้วจึงไปตกลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง (การเคลื่อนไหวของเข็มได้จากการปล่อยกระแสไฟฟ้า ที่มีอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าต่อกับส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของชุดเข็ม) เครื่องพิมพ์จุดมีสองประเภท คือ ประเภทมีเข็ม 9 เข็ม และประเภทมีเข็ม 24 เข็ม เดิมเครื่องพิมพ์ชนิดนี้พิมพ์ได้สีเดียวคือสีดำ ต่อมมามีผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สีซึ่งสามารถพิมพ์ได้หลายสี
ข้อดี สามารถพิมพ์ได้เร็วถึง 700 ตัวอักษรต่อวินาที ราคาถูก สามารถแสดงรูปแบบทางด้านกราฟิกได้ สามารถเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะตัวอักษร (fonts) ได้หลายรูปแบบ
ข้อเสีย จะมีเสียงดังในขณะทำการพิมพ์ ตัวอักษรจะหยาบ พิมพ์ไม่ละเอียด















รูป 3.18 แสดงการพิมพ์โดยชุดเข็มและตัวอักษรที่พิมพ์ได้จากเครื่องพิมพ์จุด

1.2 เครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ (Letter-quality Printer)
เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะใช้หัวพิมพ์ และมีกลไกที่จะกระแทกแม่พิมพ์กับผ้าหมึก กดรูปตัวพิมพ์บนกระดาษ ชนิดของหัวพิมพ์มีหัวพิมพ์แบบจาน (Daisy Wheel) และหัวพิมพ์รูปโคน (Thimble)

หัวพิมพ์แบบจาน (Daisy Wheel) มีลักษณะเป็นจานแบน ๆ ส่วนกลางเป็นแผ่นกลมมีก้านพิมพ์แยกออกมารอบด้านคล้ายกับดอก daisy ที่ปลายแต่ละก้านจะมีตัวพิมพ์นูนเหมือนก้านพิมพ์ดีด ในแต่ละก้านจะบรรจุตัวอักษร 1 ตัว เมื่อทำการพิมพ์จานนี้จะหมุนได้รอย และหมุนตัวอักษรที่ต้องการไปยังตำแหน่งที่ต้องการพิมพ์ จากนั้นหัวค้อนเล็ก ๆ จะกระแทกก้านตัวอักษรด้นไปกดลงบนแถบผ้าหมึก และปรากฏเป็นตัวอักษรขึ้นบนกระดาษ
หัวพิมพ์รูปโคน (Thimble) หัวพิมพ์ชนิดนี้จะมีก้านพิมพ์ขึ้นเป็นรูปโคน และที่ปลายก้านจะบรรจุตัวพิมพ์ไว้ก้านละ 2 ตัวอักษร เมื่อทำการพิมพ์หัวพิมพ์จะหมุนได้ตามแนวนอน จนตัวอักษรที่ต้องการพิมพ์ตรงตำแหน่งที่ต้องการ ค้อนเล็ก ๆ ก็จะกดหัวพิมพ์นี้กับผ้าหมึก ไปปรากฏเป็นตัวอักษรบนกระดาษ














รูปที่ 3.19 ตัวพิมพ์แบบจาน (Daisy Wheel)







รูปที่ 3.20 หัวพิมพ์รูปโคน (Thimble)

ดังนั้นสามารถเรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์ชนิดใช้หัวพิมพ์แบบมีแม่พิมพ์ (Form Character Printer) หัวพิมพ์ทั้งสองแบบสามารถถอดออกได้ รูปแบบตัวอักษรจะเป็นลายเส้นต่อกัน เรียก ตัวอักษรเต็มรูป (Fully Formed Character)
ข้อดี ได้ตัวอักษรที่สวยงาม
ข้อเสีย มีความเร็วในการพิมพ์ต่ำ ประมาณ 12 -100 ตัวอักษรต่อวินาที ทำให้ใช้เวลาในการพิมพ์มาก และไม่สามารถพิมพ์ออกมาในรูปกราฟิกได้ รวมทั้งมีราคาแพงด้วย

1.3 เครื่องพิมพ์แบบดรัม (Drum Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สลับอยู่บนกระบอกโลหะที่เรียกว่า ดรัม (Drum) ในขณะพิมพ์ ดรัมจะหมุนด้วยความเร็วสูง และพิมพ์ค่าบนกระดาษโดยอาศัยม้วนหมึกพิมพ์และแรงตีจากค้อนเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ข้างหลังกระดาษ เครื่องพิมพ์นี้มีความเร็วในการพิมพ์ประมาณ 200 – 1,000 บรรทัดต่อนาที

1.4 เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่ (Chain Printer)
เป็นชนิดที่ใช้ลูกโซ่บรรจุตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ การพิมพ์จะทำได้โดยลูกโซ่จะเคลื่อนที่ผ่านกระดาษซึ่งมีม้วนหมึกคั่นอยู่ ในขณะที่ลูกโซ่เคลื่อนที่ผ่านกระดาษ ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ต้องการให้พิมพ์จะถูกพิมพ์ลงบนกระดาษโดยแรงดีจากค้อนเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ข้างหลังกระดาษ เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์แบบดรัม สัญลักษณ์ที่อยู่บนลูกโซ่จะมีหลายชุดเพื่อความรวดเร็วในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้ประมาณ 200 – 2,000 บรรทัดต่อนาที










รูปที่ 3.21 เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่

2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non-Impact Printers)
คือเครื่องพิมพ์ที่อาศัยกรรมวิธีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดตัวอักษรขึ้นมา โดยที่ได้ได้เกิดจากการใช้อุปกรณ์ตกลงบนหมึกพิมพ์กระทบลงบนกระดาษ แต่อาจใช้เทคนิคทางด้านความร้อน สารเคมี หรือไฟฟ้าแทน ฉะนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงการใช้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ คือกระดาษต้องผลิตขึ้นโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้กระดาษธรรมดาได้ หรือไม่ควรใช้กระดาษพิมพ์ที่บางเกินไป เครื่องพิมพ์ชนิดนี้แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
2.1 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
2.2 เครื่องพิมพ์ชนิดหมึกฉีด (Inkjet Printer)

2.1 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความคมชัดสวยงาม สามารถพิมพ์ภาพกราฟิก และตัวอักษรได้หลายขนาด หลายแบบ มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยลำแสงเลเซอร์จะส่องไปกระทบกับแผ่นโลหะที่ฉาบไว้ด้วยซิลิเนียม ซึ่งแผ่นซิลิเนียมนี้เมื่อใกล้สายไฟแรงสูงจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบวกขึ้น ยกเว้นบริเวณที่ถูกแสงเลเซอร์จะเกิดประจุลบแทน ซึ่งประจุลบนี้จะถูกผงหมึกเข้ามาติดและถ่ายเข้าไปยังกระดาษ ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรขึ้น
ความคมชัดของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของจุดภาพ เครื่องพิมพ์อย่างหยาบมีจุดภาพขนาด 300 จุดต่อนิ้ว อย่างละเอียดมีขนาด 600 จุดต่อนิ้ว หรือมากกว่า ความเร็วในการพิมพ์ตั้งแต่ 6 หน้าต่อนาทีขึ้นไป ข้อเสียคือ ผงหมึก (Toner) มีราคาค่อนข้างแพง

รูปที่ 3.22 เครื่องพิมพ์ Laser รูปที่ 3.23 เครื่องพิมพ์ Dot Matrix

2.2 เครื่องพิมพ์ชนิดหมึกฉีด (Inkjet Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการพ่นหมึกให้ปรากฏเป็นตัวอักษรโดยตรงบนกระดาษ แทนการใช้ผ้าหมึก โดยการบังคับหยดน้ำหมึกให้ลงในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งถูกควบคุมด้วยไฟฟ้าสถิตย์ สามารถพิมพ์ได้เร็วประมาณ 30 – 300 ตัวอักษรต่อนาที สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้หลายชนิด ตัวพิมพ์คมชัด พิมพ์ได้หลายสี และพิมพ์รูปภาพกราฟิกได้ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมน้อยกว่าเครื่องพิมพ์จุดและเครื่องพิมพ์เลเซอร์

พลอตเตอร์ (Plotter)
ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่มีลักษณะกคออกทางกระดาษพิมพ์ สามารถพิมพ์รูปทรงต่าง ๆ เช่น แผนที่ วงกลม กราฟแท่ง เหมาะกับงานการออกแบบ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ตลอดจนงานธุรกิจ การเงิน และสถิติต่าง ๆ